วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

เศรษฐศาสตร์ ตอนที่ 3

1.     การผลิต คืออะไร
                “การผลิต” (Production) ตามความหมายทางด้านเศรษฐศาสตร์ หมายถึง กระบวนการสร้างสินค้าและบริการต่าง ๆ โดยใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดมาผลิตเป็นสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีมากมายไม่จำกัด การผลิตเป็นการสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นแก่ ผู้ผลิต เจ้าของทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต รวมทั้งผู้ที่บริโภคสินค้าและบริการ
                                หลักเกณฑ์การพิจารณาว่าเป็นการผลิตหรือไม่ มีดังนี้
                        ก.    เป็นการทำให้เกิดสินค้า (Goods) ที่สามารถสนองความต้องการของบุคคลได้ สินค้า (Goods) มี 2 ชนิด คือ สินค้าที่ไม่ต้องมีการผลิตและไม่มีต้นทุนในการผลิต เรียกว่า ทรัพย์เสรี (Free Goods) และสินค้าที่ต้องทำการผลิตและมีต้นทุนในการผลิต เรียกว่า เศรษฐทรัพย์ (Economic Goods)
                        .    มีการใช้แรงกายแรงความคิด แรงสัตว์ หรือเครื่องจักร มาทำการแปรสภาพสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ เช่น การนำน้ำทะเลมาทำเป็นเกลือ การนำหินมาเจียระไนเป็นเพชร เป็นต้น
                        .    เป็นการสร้างอรรถประโยชน์ให้กับปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ก่อให้เกิดสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการและความพอใจของมนุษย์
2.     วิวัฒนาการของการผลิต
                1) ยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม 
                2) ยุคปฏิวัต
                3) ยุคการทำวิจัย
                4) ยุคข้อมูลข่าวสาร
3.     ปัจจัยการผลิต (Factor of Production)
                ปัจจัยการผลิต หมายถึง ทรัพยากรที่ถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบของการผลิตสินค้า หรือบริการ ปัจจัยการผลิต ได้แก่
                        1) ทุน (Capital Goods) ในทางเศรษฐศาสตร์
                        2) ที่ดิน (Land)
                        3) แรงงาน (Labor)
                        4) ผู้ประกอบการ (Entrepreneur)
                4.     ลำดับขั้นของการผลิตและการผลิตขนาดใหญ่
                 4.1 ลำดับขั้นของการผลิต สามารถจำแนกได้ 3 ขั้น คือ
                        1) การผลิตขั้นประถมหรือขั้นแรก (Primary Production) 
                        2) การผลิตขั้นมัธยมหรือขั้นสอง (Secondary Production)
                        3) การผลิตขั้นอุดมหรือขั้นที่สาม (Tertiary Production
                ขั้นการผลิตทั้ง 3 ขั้นประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่มักจะมีการผลิตขั้นประถม หรือขั้นแรก เพราะมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจน้อย ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วหรือมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี จะมีการผลิตขั้นมัธยมและขั้นอุดม
        4.2  การผลิตขนาดใหญ่ (Mass Production)
                การผลิตขนาดใหญ่ หมายถึง การผลิตสมัยใหม่ที่นำเทคโนโลยีการจัดการและวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาช่วยการผลิต มีการแบ่งงานกันทำ เกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย และผลิตจำนวนมาก สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากพอ
                ข้อดีของการผลิตขนาดใหญ่ คือสามารถสนองความต้องการของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มาตรฐานการครองชีพของประชากรสูงขึ้น ลดปัญหาการว่างงาน ทำให้ประชากรมีงานทำมากขึ้น และมีรายได้เพิ่มขึ้น สินค้ามีที่ราคาถูกลง สำหรับ ข้อเสียของการผลิตขนาดใหญ่ จะส่งผลให้อุตสาหกรรมขนาดเล็กได้รับการกระทบกระเทือนมาก จนอาจต้องเลิกกิจการในที่สุด สาเหตุเนื่องมาจากการ ขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูงขึ้น จนไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานมากขึ้น
5.     ต้นทุนการผลิต (Cost of Production)
                ต้นทุนการผลิต หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่จ่ายไปในการดำเนินงานผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งต้นทุนในทางเศรษฐศาสตร์ (Economic cost) จะมีความหมายแตกต่างจากต้นทุนทางบัญชี (Business cost) ดังนี้คือ
                ต้นทุนทางบัญชี (Business cost) หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่มักมีการจ่ายเป็นตัวเงินจริง ๆ  เป็นต้นทุนที่มองเห็นได้ชัดเจนหรือต้นทุนชัดแจ้ง (Explicit Cost) ได้แก่ ค่าจ้าง เงินเดือน ค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าขนส่ง ค่าวัตถุดิบ เป็นต้น และมีการลงบันทึกทางบัญชีใว้เป็นหลักฐาน ได้
                ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ (Economic cost) จะมีความแตกต่างจากต้นทุนทางบัญชี เพราะต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องจากการผลิต ซึ่งนอกจากต้นทุนที่จ่ายออกไปเป็นตัวเงินจริง ยังรวมเอาต้นทุนที่ไม่ได้จ่ายออกไปเป็นตัวเงินจริง ๆ ซึ่งเป็นต้น ทุนไม่ชัดแจ้ง (Implicit cost) หรือต้นทุนแอบแฝง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ผลิตจะต้องประเมินขึ้นมาและถือเป็นต้นทุนการผลิตส่วนหนึ่ง ได้แก่ ราคาหรือผลตอบแทนของปัจจัยการผลิต ที่ผู้ผลิตเป็นเจ้าของโดยตรงและเมื่อนำมาใช้ในการผลิตสินค้าอย่างหนึ่ง ก็หมดโอกาสที่จะนำไปใช้อย่างอื่น ผู้ผลิตจึงต้องคิดต้นทุนต้องที่ประเมินขึ้นมานี้ด้วย เราเรียกว่า ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity cost) ให้กับปัจจัยการผลิต นั้น ๆ ด้วย เช่น ในการที่ผู้ผลิต ใช้อาคารหรือบ้านของตนเป็นสถานที่สำหรับการผลิตสินค้าแทนที่จะนำอาคารหรือบ้านไปให้คนอื่นเช่า ซึ่งเขาจะได้รับค่าเช่าเป็นค่าตอบแทน ดังนั้น ค่าเช่าบ้านที่ผู้ผลิตควรจะได้รับแต่ไม่ได้ถือว่าเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสของเขา ซึ่งต้นทุนดังกล่าวนี้ จะต้องนำมาคิดรวมในต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ด้วย ดังนั้นต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จึงเป็นการเอาต้นทุนค่าเสียโอกาสรวมกันเข้ากับต้นทุนทางบัญชี
                ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จึงสูงกว่าทางบัญชี และกำไรทางเศรษฐศาสตร์ก็จะน้อยกว่ากำไรทางบัญชีเสมอ และเนื่องจากต้นทุนการผลิต เกิดขึ้นจากการใช้ปัจจัยการผลิต 2 ประเภท คือปัจจัยคงที่และปัจจัยผันแปร ดังนั้น ต้นทุนการผลิตจึงสามารถแบ่งออกได้ตามประเภทของการใช้ปัจจัยการผลิตได้ทั้งสอง 2 ประเภท ดังนี้
                                1) ต้นทุนคงที่ (Fixed cost)
                                2) ต้นทุนผันแปร (Variable cost)
6.     ทฤษฎีการผลิต (Production Theory)
                โดยทั่วไปหน่วยผลิตจะพยายาม ทำให้เกิดผลผลิตมากที่สุดเท่าที่จะทำได้และพยายามทำให้เส้นต้นทุนต่ำที่สุด เพื่อจะได้กำไรมากที่สุด ดังนั้นการศึกษาเรื่องการผลิตเราสามารถแบ่งระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตออกได้เป็น 2 ระยะ คือ
                        1) การผลิตในระยะสั้น (Short Run) คำว่า ระยะสั้นในวิชาเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ช่วงระยะเวลาของการผลิตที่หน่วยผลิตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิต บางอย่างได้ เมื่อต้องการขยายปริมาณการผลิต ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเราเรียกว่า ปัจจัยคงที่ ได้แก่โรงงาน เครื่องจักร ที่ดิน เป็นต้น แต่หน่วยอาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะบางชนิดเท่านั้น เราเรียกว่า ปัจจัยผันแปร ได้แก่ วัตถุดิบ เชื้อเพลิง ไฟฟ้า น้ำประปา เป็นต้น ดังนั้นการผลิตในระยะสั้นจึงประกอบด้วยปัจจัยการผลิต 2 ชนิดคือ ปัจจัยคงที่ และปัจจัยคงที่
                        2) การผลิตในระยะยาว (Long Run) คำว่า ระยะยาวในวิชาเศรษฐศาสตร์หมายถึง ช่วงเวลาที่ปัจจัยการผลิตทุกประเภทสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามความต้องการในการผลิตสินค้า นั่นคือ ในระยะยาว ปัจจัยการผลิตทุกชนิดจะเป็นปัจจัยผันแปรทั้งหมด
                การศึกษาการผลิตในระดับนี้ นักเรียน จะได้ทำการศึกษาแต่เฉพาะการผลิตในระยะสั้น เท่านั้น การผลิตในระยะสั้น จะใช้กฎว่าด้วยผลตอบแทนลดลง” (Law of Diminishing Retures) กฎนี้อธิบายว่าเมื่อเพิ่มปัจจัยการผันแปรใด ๆ ทีละหน่วยเข้าไปทำงานร่วมกับปัจจัยคงที่จำนวนหนึ่ง ในระยะแรกผลผลิตรวม (Total Product) จะเพิ่มในอัตราที่เพิ่มขึ้นแต่เมื่อเพิ่มปัจจัยผันแปรเข้าไปมากจนถึงระดับหนึ่งแล้ว ผลผลิตรวมจะเพิ่งขึ้นในอัตราที่ลดลง
                เมื่อ ผลผลิตรวม (Total Product = TP) คือปริมาณผลผลิตทั้งหมดที่ได้รับจากการใช้ปัจจัยการผลิต
                        ผลผลิตเฉลี่ย (Average product = AP) คือปริมาณผลผลิตต่อหน่วย
                                                                                AP =             ผลผลิตรวม          
                                                                                                จำนวนปัจจัยการผลิต
                        ผลผลิตเพิ่ม (Marginal Product = MP) คือปริมาณผลผลิตทีได้รับเพิ่มขึ้นจากการใช้ปัจจัยผลผลิตเพิ่มขึ้นทีละ 1 หน่วย

                               . ความหมายของรายได้ประชาชาติ

                “รายได้ประชาชาติเป็นตัวเลขที่ใช้วัดการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติมีระยะเวลา 1 ปี
2. ความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายได้ประชาชาติ
                เราสามารถอธิบายความหมายของรายได้ประชาชาติ โดยแบ่งออกเป็นประเภทต่างได้ 6 ประเภท ดังนี้
                                1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product- GDP) หมายถึงมูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นภายในประเทศนั้น ๆ
สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย หมายถึง สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคนำไปใช้ในการอุปโภคบริโภคเป็นขั้นสุดท้าย โดยไม่นำสินค้านั้นไปใช้ในการผลิตเป็นสินค้าและ/หรือบริการอื่น ๆ อีกต่อไป
                                2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product- GNP) หมายถึงมูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นโดยประชากรของประเทศ โดยคิดตามราคาตลาดก่อนจากหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ในระยะเวลา 1 ปี
                                                                GNP = GDP + F
                                3) ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติสุทธิ (Net National Product- NNP) หมายถึงมูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นโดยประชากรของประเทศนั้น ๆ โดยคิดตามราคาตลาดหลังจากหักค่าใช้จ่ายที่กินทุนออกแล้ว ในระยะเวลา 1 ปี โดย
                                                                NNP = GNP – ค่าใช้จ่ายที่กินทุน
                                4) รายได้ประชาชาติ (National Income- NI) หมายถึงมูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นโดยประชากรของประเทศนั้น ๆ โดยคิดตามราคาตลาดหลังจากหักค่าใช้จ่ายที่กินทุน และภาษีทางอ้อมออกแล้ว ในระยะเวลา 1 ปีโดย
                                                                NI = NNP – ภาษีทางอ้อม
                                5) รายได้ส่วนบุคคล (Personal Income- PI) หมายถึงรายได้ส่วนบุคคลทั้งหมด รวมทั้งรายได้ที่เป็นผลตอบแทนจากการใช้ปัจจัยการผลิตที่ตกถึงมือของบุคคลจริง ๆ โดย
PI = NI – กำไรที่หน่วยธุรกิจกันไว้สำหรับการขยายกิจการภาษีเงินได้นิติบุคคล + เงินโอน
                      ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือภาษีที่บริษัทหรือนิติบุคคลนั้น ๆ จะต้องจ่ายให้แก่รัฐบาล โดยคิดจากผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการของหน่วยธุรกิจนั้น ๆ
                     ส่วนเงินโอน คือเงินหรือสิ่งของที่ได้เปล่าโดยไม่มีสิ่งใดเป็นของตอบแทน                                
            ก) เงินโอนของรัฐบาล เป็นเงินที่รัฐบาลให้การช่วยเหลือแก่บุคคล เช่น เงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่เกษียณอายุราชการ เงินสงเคราะห์คนชรา เป็นต้น
ข) เงินโอนของภาคเอกชน เป็นเงินที่หน่วยธุรกิจหรือบุคคลบริจากเพื่อเป็นการช่วยเหลือหรือเป็นการกุศลแก่บุคคลโดยมิได้หวังผลตอบแทน
                                6) รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (Disposable Personal Income- DPI) หมายถึงรายได้ที่บุคคลสามารถนำไปใช้จ่ายได้จริงเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ หลังจากหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว โดย
                                                                DPI = PI - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
                      ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือภาษีที่บุคคลจะต้องจ่ายเพื่อเป็นรายได้แก่รัฐบาล โดยคำนวณจากเงินได้ส่วนบุคคล
3.     การคำนวณรายได้ประชาชาติ 
            การคำนวณรายได้ประชาชาติสามารถคำนวณได้ 3 วิธีด้วยกันคือ
1) การคำนวณรายได้ประชาชาติด้านผลผลิต (GNP)
2) การคำนวณรายได้ประชาชาติด้านรายได้ (GNI)
3) การคำนวณรายได้ประชาชาติด้านรายจ่าย (GNE)
3.1 การคำนวณรายได้ประชาชาติด้านผลผลิต (Production Approach)
เป็นการคำนวณหาผลรวมของมูลค่าของสินค้าและบริการเฉพาะที่เป็นผลผลิตขั้นสุดท้ายของสินค้าและบริการ (Final product) ที่ผลิตขึ้นภายในประเทศในระยะเวลา 1 ปี
3.2 การคำนวณรายได้ประชาชาติด้านรายได้ (Income Approach)
เป็นการคำนวณหารายได้ทั้งหมดของทั้งภาครัฐ และเอกชนที่เกิดจากการผลิตสินค้าและบริการภายในประเทศในระยะเวลา 1 ปี โดย
      รายได้ของภาครัฐ คือรายได้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการของรัฐบาล เช่น รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ และรายได้จากการเก็บภาษีอากรของรัฐบาล
      สำหรับรายได้ของภาคเอกชน คือรายได้ที่เกิดจากการนำเอาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ไปผลิตเป็นสินค้าและบริการ เช่น แรงงาน ที่ดิน ทุน และการประกอบการ


ภาวะเงินเฟ้อ
        1.1  ความหมายของเงินเฟ้อ (Inflation)
                        “เงินเฟ้อหมายถึงภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่ว ๆ ไปเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆระดับราคาในที่นี้มิได้หมายความถึงเฉพาะราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เราหมายความรวมถึงราคาสินค้าและบริการทุกประเภทที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน  สำหรับประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์จะเป็นหน่วยงานที่จัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคขึ้น เพื่อประชาชนได้ทราบถึงภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของระดับสินค้า โดยทั่ว ๆ ไทย เราสามารถจำแนกประเภทของเงินเฟ้อได้เป็น 3 ลักษณะ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของระดับราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลงดังนี้
                                1) ภาวะเงินเฟ้ออย่างอ่อน (Mild Inflation)  เป็นภาวะที่ระดับสินค้าโดยทั่ว ๆ ไปค่อย ๆ สูงขึ้น ประมาณร้อยละ 1-5 ต่อปี การเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างอ่อนนี้ถือว่ายังไม่มีผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ
                                2) ภาวะเงินเฟ้อปานกลาง (Moderate Inflation) เป็นภาวะที่ระดับสินค้าโดยทั่ว ๆ ไปสูงขึ้นอย่างรวดเร็วประมาณร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี ซึ่งเป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้น จนกระทบต่อการดำรงชีพของประชาชน
                                3) ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง (Hyper Inflation) เป็นภาวะที่ระดับสินค้าโดยทั่ว ๆ ไปสูงขึ้นเกินกว่าร้อยละ 20 ต่อปี ราคาสินค้าโดยทั่ว ๆ ไปจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถที่จะซื้อสินค้าหรือบริการมาใช้ในการดำรงชีพได้ผู้ผลิตเองก็ขายสินค้าไม่ได้จะต้องลดการผลิตลงหรือเลิกกิจการ ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยและตกต่ำในที่สุด
        1.2  สาเหตุของการเกิดภาวะเงินเฟ้อ
                ภาวะเงินเฟ้ออาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน แต่ที่สำคัญมักจะเกิดจากสาเหตุที่สำคัญ 2 ประการคือ
                                                1) การเกิดภาวะเงินเฟ้อจากแรงดึงของอุปสงค์ (Demand Pull Inflation) เกิดขึ้นเมื่ออุปสงค์รวม (Aggregate Demand ; AD) คือปริมาณความต้องการสินค้าและบริการของประชาชนโดยรวมมีมากกว่าอุปทานรวม (Aggregate Supply ; AS) คือปริมาณสินค้าและบริการที่ผลิตได้ ซึ่งจะผลักดันให้ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้น
                                2) ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากแรงผลักดันของต้นทุนการผลิต (Cost Push Inflation) เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตมีต้นทุนในการผลิตสูง เช่น ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น ราคาของปัจจัยการผลิตสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นตามไปด้วย
        1.3  ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อ
                การเกิดภาวะเงินเฟ้อเนื่องจากระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นนั้นจะเป็นภาวะเงินเฟ้อลักษณะไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับสินค้าโดยทั่วไปเกิดขึ้นรวดเร็ว มากน้อยเพียงใด ซึ่งการเกิดภาวะเงินเฟ้อก็จะมีผลกระทบต่อบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                                                                1) เกษตรกร โดยทั่วไปแล้ว เกษตรกรมักจะได้รับประโยชน์จากการเกิดภาวะเงินเฟ้อ เพราะราคาของพืชผลทางการเกษตรจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าต้นทุนการผลิตของเกษตรกร เช่น ราคา เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย เครื่องมือเครื่องใช่ และค่าจ้างแรงงาน
                                                                2) พ่อค้าและนักธุรกิจ โดยทั่วไปแล้วพ่อค้าและนักธุรกิจมักจะเป็นผู้ซื้อมาแล้วขายไปจะได้รับประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อ เพราะราคาสินค้าที่สูงขึ้นทำให้สามารถขายสินค้าที่มีอยู่ในต๊อกได้ในราคาที่สูงขึ้น
                                                                3) ผู้มีรายได้ประจำ (Fixed Income) ได้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และผู้ที่ทำงานในบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ซึ่งมีรายได้จากเงินเดือนและค่าจ้าง
                                                                4) ลูกหนี้และเจ้าหนี้ ลูกหนี้นั้นโดยทั่วไปแล้วจะได้รับผลประโยชน์จากการเกิดภาวะเงินเฟ้อ เพราะลูกหนี้จะมีรายได้เป็นตัวเงิน (Money Income) สูงขึ้น สามารถที่จะชำระหนี้ได้ ส่วนเจ้าหนี้นั้นจะอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบ เพราะเงินที่จะได้รับจากการชำระหนี้ลูกหนี้นั้น จะมีอำนาจซื้อ
                                                5) รัฐบาล การเกิดภาวะเงินเฟ้อมักจะก่อให้เกิดปัญหาแก่รัฐบาลในการที่รัฐบาลจะต้องหามาตรการ และแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นตามมา เพราะเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น รัฐบาลจำเป็นต้องปรับเงินเดือน ค่าจ้าง ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างให้สูงขึ้น
2.     ภาวะเงินฝืด
        2.1  ความหมายของเงินฝืด (Deflation)
                                “เงินฝืด”  เป็นภาวะที่ระดับสินค้าโดยทั่ว ๆ ไป ลดลงเรื่อย ๆ  ซึ่งเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ แต่ที่สำคัญคือเกิดจากการที่ประชาชนหรือเอกชน และรัฐบาลมีการลดการใช้จ่ายสำหรับซื้อสินค้าและบริการลงจนทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถขายสินค้าและบริการได้ ผู้ขายจึงต้อยลดราคาสินค้าและบริการลง ถ้าการลดลงของราคาสินค้าและบริการเป็นไปอย่างรวดเร็วจนทำให้ผู้ผลิตต้องลดปริมาณการผลิตหรือหยุดกิจการ ก็จะนำไปสู่การว่างงาน และส่งผลต่อสภาวะเศรษฐกิจให้ตกต่ำลง
        2.2  สาเหตุของการเกิดภาวะเงินฝืด
                                การเกิดภาวะเงินฝืด เนื่องจากอุปสงค์รวม (AD) หรือความต้องการในสินค้า และบริการของประชาชนมีน้อยกว่าอุปทาน (AS) หรือปริมาณสินค้าและบริการที่ผลิตได้ ซึ่งส่งผล ซึ่งส่งผลให้ระดับราคาสินค้าโดยทั่ว ๆ ไปลดลง สืบเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
                                                1) การที่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินลดการให้สินเชื่อแก่ประชาชนน้อยลง
                                                                2) รัฐบาลใช้นโยบายงบประมาณเกินดุล คือการใช้จ่ายของรัฐบาลน้อยกว่ารายได้ที่เกิดขึ้นจากการจัดเก็บภาษีจากประชาชน ทำให้ปริมาณเงินที่เหลืออยู่ในมือของประชาชนเพื่อใช้จ่ายน้อยลง
                                3) ประชาชนมีการเก็บเงินไว้โดยไม่ยินดีที่จะนำเงินออกมาใช้จ่าย ซึ่งเป็นผลให้การบริโภคของประชาชนลดลง
                                                                4) รัฐบาลมีการจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้น ทำให้ประชาชนต้องเสียภาษีให้กับรัฐมากขึ้น และมีรายได้เพื่อจับจ่ายใช้สอยน้อยลง
        2.3                  ผลของการเกิดภาวะเงินฝืด
                                                การเกิดภาวะเงินฝืดจนทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ เช่น การลดลงของการผลิตหรือการปิดกิจการของธุรกิจ จนนำไปสู่ปัญหาการว่างงาน และการตกต่ำทางเศรษฐกิจ ย่อมส่งผลกระทบต่อบุคคลต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจ คือ
                                                                1) เกษตรกรจะได้รับผลกระทบจากภาวะเงินฝืดคือ รายได้ที่เกษตรกรได้รับจากการขายพืชผลทางการเกษตรจะลดลงเพราะระดับราคาสินค้าที่ลดลงอย่างรวดเร็ว
                                                                2) พ่อค้าและนักธุรกิจ ขานสินค้าได้น้อยลง เพราะประชาชนไม่มีอำนาจซื้อ ทำให้ต้องลดราคาสินค้าให้ต่ำลง อาจทำให้ต้องประสบภาวการณ์ขาดทุน จนเลิกกิจการได้
                                                                3) ผู้มีรายได้ประจำได้แก่ข้าราชการ หรือลูกจ้างทั้งของรัฐ และเอกชน จะอยู่ในฐานะได้เปรียบเพราะมีรายได้จะสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูก และได้ในปริมาณที่มากขึ้น
                                                                4) ลูกหนี้และเจ้าหนี้ ลูกหนี้นั้นจะอยู่ในฐานะเสียเปรียบ ในขณะที่ที่เจ้าหนี้นั้นจะอยู่ในฐานะได้เปรียบ เพราะลูกหนี้นั้นจะมีความยากลำบากในการหาเงินมาชำระหนี้มากขึ้น
                                                                5) รัฐบาล การเกิดภาวะเงินฝืดนั้นส่งผลให้รายได้ของรัฐบาลจากการเก็บภาษีลดน้อยลง ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพื่อนำมาใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ และแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้น้อยลง
3.     เงินตึงตัว
        3.1                  ความหมายของเงินตึงตัว (Tight Money)
                                “เงินตึงตัว” (Tight Money) เป็นภาวะที่ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ สำหรับการให้กู้ยืมมีไม่เพียงพอต่อความต้องการในการกู้ยืม เป็นปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นในระยะสั้น ซึ่งจะเกิดขึ้นในขณะที่การลงทุนโดยทั่วไปกำลังขยายตัว เมื่อเกิดภาวะเงินตึงตัวเกิดขึ้น ทำให้การลงทุนไม่สามารถขยายตัวได้ เพราะมีเงินทุนไม่เพียงพอ          3.2          สาเหตุของภาวะเงินตึงตัว
                                ภาวะเงินตึงตัวอาจมีสาเหตุมาจากทั้งภายในประเทศและสาเหตุมาจากต่างประเทศ กล่าวคือ สาเหตุจากภายในประเทศ เช่น ในกรณีที่รัฐบาลเห็นว่าแนวโน้มของราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้น อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นได้ในอนาคต รัฐบาลใช้นโยบายในการลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลง โดยการให้สถาบันการเงินชะลอการขยายสินเชื่อในขณะที่ความต้องการสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจมีสูง ก็ส่งผลให้เกิดการภาวะเงินตึงตัวขึ้น ส่วนสาเหตุจากภายนอกประเทศ อย่างเช่น กรณีที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต้องประสบกับภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง จนอาจทำให้ประเทศต้องระสบกับภาวการณ์ขาดดุลการค้า และดุลการชำระเงิน ซึ่งอาจส่งผลให้เงินสำรองของประเทศน้อยลง ทำให้รัฐบาลต้องใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว เพื่อป้องกันมิให้ทุนสำรองของประเทศลดลง  ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกจะสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนเงินกู้ยืมจากต่างประเทศสูงขึ้น การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศลดลง ซึ่งอาจทำให้ปริมาณเงินที่จะนำมาใช้สนองความต้องการภายในประเทศลดลงไปด้วย


เศรษฐศาสตร์ ตอนที่ 2

1. อุปสงค์  (Demand)
1.1       ความหมายของอุปสงค์
อุปสงค์ หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดในเวลาใด เวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่าง ๆ กัน โดยอุปสงค์ตามความหมายของเศรษฐศาสตร์นั้นจะต้องประกอบด้วยอำนาจการซื้อ (Purchasing Power) และความเต็มใจที่จะซื้อสินค้าและบริการนั้นด้วย (Willing to Purchase) เราแบ่งอุปสงค์ออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
1)            อุปสงค์ต่อราคา
2)            อุปสงค์ต่อรายได้
3)            อุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.2       กฎของอุปสงค์ (Low of Demand)
กฎของอุปสงค์อธิบายว่าปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาของสินค้าชนิดนั้นนั่นคือ เมื่อราคาของสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งสูงขึ้น ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้น ๆ จะลดลง และในทิศทางตรงกันข้ามถ้าราคาของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งลดลง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้น ๆ จะเพิ่มขึ้น ตารางอุปสงค์และเส้นอุปสงค์ (Demand Schedule and Demand Line)
ตารางอุปสงค์ คือ ตารางที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งกับราคาของสินค้าและบริการชนิดนั้น ๆ ณ ระดับราคาต่าง ๆ กัน
1.3       ปัจจัยกำหนดอุปสงค์
                จากการอธิบายความหมายของอุปสงค์อุปสงค์ที่ผ่านมาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าอุปสงค์จะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการตามกฎของอุปสงค์ โดยราคาจะเป็นปัจจัยที่กำหนดปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการ เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่นคงที่ แต่ความต้องการซื้อสินค้าและบริการในเวลาขณะใดขณะหนึ่งมิได้ขึ้นอยู่กับราคาของสินค้าและบริการเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยตัวอื่นๆ อีก ได้แก่
1)  รายได้  รายได้ของผู้บริโภคเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค นั้นคือ เมื่อผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นผู้บริโภคก็จะมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้บริโภคมีรายได้ลดลงผู้บริโภคก็จะมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการลดลงด้วย
2) รสนิยมของผู้บริโภค  การเปลี่ยนแปลงในรสนิยมของผู้บริโภคมีผลทำให้ความต้องการสินค้าเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น ผู้บริโภคนิยมรับประทานผักผลไม้แทนการรับประทานเนื้อสัตว์ ย่อมทำให้ความตองการผักผลไม้ก็จะเพิ่มขึ้น
                3)  ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง เราแบ่งสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องกันได้ 2 ประเภท คือ 1) สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (Complementary) เช่น กาแฟกับน้ำตาล เป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน
                4) จำนวนประชากร  ถ้าจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นจะทำให้ปริมาณความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น และถ้าจำนวนประชากรลดลงความต้องการซื้อสินค้าและบริการย่อมลดลงด้วย     
5) การโฆษณา  การโฆษณาสินค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการ การโฆษณาที่ดีจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจในสินค้าและบริการและทำให้ความต้องการซื้อสินค้าและบริการนั้น เพิ่ม มากขึ้น
                6)  ฤดูกาล  เช่น ฤดูหนาว อุปสงค์หรือความต้องการซื้อน้ำอัดลมจะลดลง ส่วนฤดูร้อนความต้องการซื้อน้ำอัดลมจะเพิ่มขึ้น
                7) การคาดคะเนราคาของผู้บริโภค เช่น ผู้บริโภคคาดคะเนว่าราคาน้ำมันพืชจะสูงขึ้นในอนาคต ผู้บริโภคก็จะพากันไปซื้อน้ำมันพืชมาเก็บไว้มากขึ้น ทำให้ความต้องการซื้อน้ำมันพืชในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นต้องการซื้อหรืออุปสงค์ของสินค้าอีกชนิดหนึ่ง
1.4       การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์
เนื่องจากอุปสงค์ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อที่ผ่านมา ดังนั้นเมื่อปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้นเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ด้วย เราสามารถพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ได้ 2 ลักษณะดังนี้
1) การเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์ เป็นการเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการซึ่งเป็นไปตามกฎของอุปสงค์ นั้นคือ ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงข้ามกับการเปลี่ยนแปลงของราคา
                                2) การเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปสงค์ เป็นการเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากปัจจัยชนิดอื่นๆ
ที่ไม่ใช่ราคาสินค้าและบริการชนิดนั้นๆ เปลี่ยนแปลง
(ราคาสินค้าและบริการชนิดนั้น ๆ คงที่) เช่น รายได้ รสนิยม ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
2. อุปทาน (Supply)
2.1       ความหมายของอุปทาน
อุปทาน หมายถึง ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดในระยะเวลาใด เวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ กัน โดยผู้ขายต้องมีสินค้าพร้อมที่จะขายและมีความเต็มใจขาย
2.2       กฎของอุปทาน (Law of Supply)
             กฎของอุปทานอธิบายว่าความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการเสนอขายสินค้าและบริการจะมีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดี่ยวกัน นั้นคือ เมื่อราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ผู้ผลิตหรือผู้ขาย จะมีความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการมากขึ้น และเมื่อราคาสินค้าและบริการลดลง ผู้ผลิตหรือผู้ขาย จะมีความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการน้อยลง
ตารางอุปทานและเส้นอุปทาน (Supply Schedule or Supply Line )
ตารางอุปทาน คือ ตารางที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการเสนอขายสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งกับราคาขาย สินค้าและบริการชนิดนั้น ๆ ณ ระดับราคาต่าง ๆ
   เส้นอุปทาน คือ เส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการเสนอซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งกับราคาขายของสินค้าและบริการชนิดนั้น ๆ ณ ระดับราคาต่าง ๆ กัน โดยเส้นอุปทานจะมีลักษณะเป็นเส้นที่ทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา
ปัจจัยกำหนดอุปทาน
ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการกับราคาของสินค้าและบริการจะมีความสัมพันธ์เป็นไปตามกฎของอุปทาน ถ้ากำหนดให้ปัจจัยอื่นคงที่ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการขายสินค้าและบริการก็ขึ้นอยู่กับราคาสินค้าและบริการชนิดนั้น ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วปริมาณความต้องการขายสินค้าและบริการมิได้ขึ้นอยู่กับราคาสินค้าและบริการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่
                         1) ต้นทุน  เมื่อราคาของปัจจัยการผลิตสูงขึ้น ในขณะที่ราคาสินค้าและบริการมิได้สูงขึ้นตามราคาปัจจัยผลิต จะทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ผู้ผลิตลดปริมาณการผลิตลง อุปทานของสินค้าและบริการก็จะลดลงลดลง
                         2) เทคโนโลยี  การผลิตสินค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพและมีปริมาณที่สูงขึ้น ผู้ผลิตจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยช่วยในการผลิต จะทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นและถ้าผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัยหรือไม่มีประสิทธิภาพก็จะส่งผลให้ปริมาณการผลิตที่ได้ลดลง
                         3) ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าชนิดหนึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการเสนอขายสินค้าอีกชนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้หรือเป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน
                         4) สภาพดินฟ้าอากาศ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลทำให้อุปทานของสินค้าเปลี่ยนแปลงไปได้ เช่น การเพาะปลูกของเกษตรกร ถ้าฝนตกตามฤดูกาล การเพาะปลูกของเกษตรกรก็จะได้ผลผลิตที่ดี อุปทานของสินค้าเกษตรก็จะมีมาก แต่ถ้าฝนแห้งแล้งเกษตรกรก็จะปลูกพืชได้ผลผลิตไม่ดี อุปทานของข้าวก็จะลดลง
                         5) จำนวนผู้ขาย   การที่มีผู้ขายจำนวนมากขึ้นผลิตสินค้าและบริการออกมาจำหน่ายได้มากขึ้น อุปทานของสินค้าจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าผู้ขายมีจำนวนลดลง ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ขายจะนำออกมาจำหน่ายก็จะมีน้อยลงทำให้อุปทานสินค้าและบริการลดลงด้วยเช่นกัน
                         6) การคาดคะเนราคาสินค้าและบริการในอนาคต การที่ผู้ขายคาดคะเนว่าในอนาคตราคาสินค้าจะสูงขึ้น ผู้ขายก็จะกักตุนสินค้าไว้เพื่อขายในอนาคต ทำให้อุปทานของสินค้าในปัจจุบันลดลง และถ้าผู้ขายคาดคะเนว่าในอนาคตราคาสินค้าจะลดลง ผู้ขายก็จะนำสินค้าที่เก็บไว้ในต๊อกมาขายมาขึ้น ทำให้อุปทานของสินค้าและบริการในขณะนั้นเพิ่มมากขึ้นมากขึ้น
     2.5  การเปลี่ยนแปลงของอุปทาน
                ปริมาณการเสนอขายกับราคาสินค้าจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันเป็นไปตามกฎของอุปทาน ถ้าเรากำหนดให้ปัจจัยที่กำหนดอุปทานอื่น ๆ คงที่ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณการเสนอขายก็จะขึ้นอยู่กับราคาสินค้า นอกจากราคาจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงองปริมาณการเสอนขายสินค้าและบริการแล้วยังมีปัจจัยอื่น ๆ ดังกล่าวมาแล้วก็ยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการเสนอขายสินค้าและบริการอีกด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอุปทานสามารถพิจารณาได้ 2 ลักษณะดังนี้
                                1) การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทาน เป็นการเปลี่ยนแปลงของอุทานที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงราคาขาย ผลการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปตามกฎของอุปทาน
                                                                2) การเปลี่ยนแปลงอุปทาน เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงของอุปทานอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคาของสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป (ราคาขายของสินค้าหรือบริการอยู่คงที่) เช่น ต้นทน เทคโนโลยี ฯลฯ
3. การกำหนดราคาดุลยภาพ (Equilibrium Price)
                ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม กลไกของราคาจะทำหน้าที่โดยอัตโนมัติในการปรับตัวเพื่อหาดุลยภาพ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายจะมีความพึงพอใจที่จะทำการซื้อขายสินค้าและบริการต่อกัน ณ ระดับราคาและปริมาณดังกล่าว ซึ่งการปรับตัวของกลไกราคาเพื่อกำหนดราคาและปริมาณความต้องการซื้อขายของบุคคลในระบบเศรษฐกิจ ทำให้เกิดจุดที่เราเรียก จุดดุลยภาพ (Equilibrium Point) ที่กำหนดราคาและปริมาณดุลยภาพ
                ราคาดุลยภาพ  (Equilibrium Price) หมายถึง ระดับราคาสินค้าที่ทำให้ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการเท่ากับปริมาณความการเสนอขายสินค้าและบริการ หรืออุปสงค์เท่ากับอุปทาน โดยปริมาณการซื้อขายที่เท่ากัน ณ ระดับราคาดังกล่าว เรียกว่า ปริมาณดุลย
4.  การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพ
                การเปลี่ยนแปลงของภาวะดุลยภาพ สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าเส้นอุปสงค์และอุปทานเส้นใดเส้นหนึ่งหรือทั้ง 2 เส้นเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปสงค์และอุปทานก็เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยอื่นที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์และอุปทาน
                กรณีที่ 1) กำหนดให้เส้นอุปสงค์เปลี่ยนแปลงและเส้นอุปทานอยู่คงที่ จุดดุลยภาพใหม่จะอยู่ที่เส้น
อุปสงค์ใหม่ตัดกับเส้นอุปทานเดิม
                กรณี 2) กำหนดให้อุปสงค์คงที่ และอุปทานเปลี่ยนแปลงไป จุดดุลยภาพใหม่จะอยู่ที่เส้นอุปทานใหม่ตัดกับเส้นอุปสงค์เดิม
กรณีที่ 3) กำหนดให้อุปสงค์และอุปทาน เปลี่ยนแปลงไปทั้ง 2 เส้นในทิศทางเดี่ยวกันในสัดส่วนที่เท่ากัน จุดดุลยภาพใหม่จะอยู่ที่จุดตัดของเส้นอุปสงค์ใหม่ และอุปทานใหม่
กรณีที่ 4) กำหนดให้อุปสงค์และอุปทาน เปลี่ยนแปลงไปทั้ง 2 เส้นในทิศทางเดี่ยวกันในสัดส่วนที่เท่ากัน จุดดุลยภาพใหม่จะอยู่ที่จุดตัดของเส้นอุปสงค์ใหม่ และอุปทานใหม่

1. ความหมายของการบริโภคและผู้บริโภค
                ความหมายของการบริโภค (Consumption) การบริโภค” (Consumption)  ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง การกิน การใช้ หรือการเอาประโยชน์จากสินค้าและบริการ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์โดยตรง เช่น การรับประทานอาหาร การดื่มน้ำ เป็นต้น ส่วนความหมายโดยทั่วไป การบริโภคจะหมายถึง การกิน เท่านั้น ดังนั้น ความหมายการบริโภคในทางเศรษฐศาสตร์ จะมีความหมายที่กว้างกว่าในความหมายโดยทั่วไป สำหรับผู้บริโภค (Consumer)” ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคล หรือองค์กร ที่ต้องการสินค้าหรือบริการ มาบำบัดความต้องการโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อได้ได้รับความพอใจสูงสุด (Maximum Satisfaction)
                การบริโภค เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการผลิต เพราะผู้ผลิตจะผลิตสินค้าและบริการมาสนองความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากมนุษย์ จะดำรงชีวิตอยู่ได้ต้องอาศัยการกินการใช้ หรือการเอาประโยชน์จากสินค้าและบริการอยู่เสมอ ในปัจจุบันจึงมีสินค้าและบริการใหม่ ๆ ออกมาจำหน่ายในท้องตลาดมากขึ้นและมีลักษณะของการแข่งขันที่สูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์มาก และมีโอกาสเลือกบริโภคได้มากขึ้นอีกด้วย
2. ลักษณะของการบริโภค
                การบริโภคตามลักษณะของสินค้าในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ มี 2 ลักษณะ ดังนี้
                                1) การบริโภคสินค้าที่สิ้นเปลืองหมดไป เรียกว่า Destruction หมายถึง การบริโภคสินค้าที่มีลักษณะสิ้นเปลือง เสื่อมสลายหรือหมดสภาพจากเดิมไม่สามารถใช้บริโภคซ้ำได้ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่คงทน (Non-Durable Goods)  เช่น การบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค การใช้น้ำมันเชื่อเพลิง เป็นต้น
                                2) ลักษณะการบริโภคสินค้าที่คงทนถาวร (Durable Goods) เรียกว่า Diminution หมายถึง การบริโภคสินค้าที่มีลักษณะถาวร ไม่สิ้นเปลืองสูญสลายในทันที สามารถนำมาใช้ได้เรื่อยๆ  เช่นการบริโภคเสื้อผ้า รองเท้า โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น
3.     ปัจจัยที่กำหนดการบริโภค
                การบริโภคจะเกิดขึ้นกับทุกคนในโลกนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในภูมิภาคใดของโลก แต่คนทุกคนจะมีการบริโภคที่แตกต่างกันไป ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนด การบริโภคของคนเรามีหลายปัจจัย ได้แก่
                                1) รายได้ของผู้บริโภค
                                2) ระบบการซื้อขาย
                                3) การโฆษณา
                                4) การศึกษา
                                5) รสนิยมของผู้บริโภค
                                6) วัยและเพศของผู้บริโภค
                                7) วัฒนธรรมประเพณี และศาสนา
                เมื่อการบริโภคถูกจำกัดด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว ผู้บริโภคทุกคนจึงต้องเลือกบริโภคสินค้าหรือบริการอย่างมีเหตุผล และจัดลำดับความต้องการตามความจำเป็นก่อนและหลังรวมทั้งรู้จักเลือกซื้อสินค้าหรือบริการที่สามารถทดแทนก้นได้ เพื่อให้เกิดความพอใจสูงสุด
4.     พฤติกรรมของผู้บริโภค
                พฤติกรรมของผู้บริโภคซึ่งมีอยู่ 2 ทฤษฎีที่สำคัญ คือ ทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Theory of utility) และทฤษฎีเส้นความพอใจเท่ากัน (Theory of Indifference Curse) และเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาและการเข้าใจสำหรับในระดับชั้นนี้ จะได้ศึกษาอธิบายเฉพาะพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยการศึกษาเรื่องอรรถประโยชน์ (Utility) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้บริโภคเป็นผู้มีเหตุผลที่จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตนและได้รับความพอใจสูงสุด ภายใต้ระดับของรายได้ที่จำกัดอยู่จำนวนหนึ่ง
                อรรถประโยชน์ (Utility) หมายถึง คุณสมบัติของสินค้าหรือบริการที่สามารถสนองความต้องการของผู้บริโภค ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง และอรรถประโยชน์จะมีมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความต้องการสินค้าและบริการของแต่ละบุคคล ซึ่งจะสามารถสร้างความพอใจให้แก่ผู้บริโภคหรือทำให้เกิดอรรถประโยชน์ ได้ในลักษณะต่างๆ คือ
                        1) อรรถประโยชน์โดยการเปลี่ยนรูปร่าง (Form Utility)
                        2) อรรถประโยชน์โดยการเปลี่ยนสถานที่ (Place Utility)
                        3) อรรถประโยชน์การเปลี่ยนเวลา (Time Utility)
                        4) อรรถประโยชน์โดยการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ (Possession Utility)
                        5) อรรถประโยชน์โดยการให้บริการ (Service Utility)
5. ผลดีและผลเสียทางเศรษฐกิจของการบริโภค
                                ผลดีของการบริโภค
                        1) ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการผลิต ทำให้มีการพัฒนาปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น เช่น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน การผลิต  เตารีดระบบไอน้ำ เป็นต้น
                        2) มีการพัฒนาเทคนิคการโฆษณา โดยใช้สื่อต่าง ๆ มีการใช้เทคนิคและวิธีการเผยแพร่ข้อมูลของสินค้าหรือบริการให้ผู้บริโภคทราบเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจซื้อ ได้รวดเร็วและถูกต้องมากยิ่งขึ้น
                        3) ทำให้การลงทุนขยายตัว ถ้าผู้ผลิตสินค้าหรือบริการแล้วผู้บริโภคนิยมซื้อไปบริโภคมากขึ้น ผู้ผลิตจะทำการผลิตต่อไป และจะขยายการผลิตอีกด้วยถ้าผู้ซื้อมีกำลังอำนาจการซื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
                        4) ระดับการจ้างงานสูงขึ้น เมื่อมีการบริโภคเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตขยายการลงทุน ย่อมต้องการจ้างงานมากขึ้น คนงานมีรายได้เพียงพอต่อการบริโภค ดังนั้นระดับการจ้างงานสูงขึ้นจะส่งผลให้มาตรฐานการครองชีพของประชาชนดีขึ้น
                        5) เกิดธุรกิจต่อเนื่อง การผลิตสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งต้องอาศัยการผลิตอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบการดำเนินกิจกรรมการผลิต เช่น การโฆษณา ประกันภัย  ธุรกิจค้าปลีก-ส่ง เป็นต้น
                        6) การเพิ่มขึ้นของการบริโภคไม่สูงเกินไป จะทำให้เกิดการซื้อง่ายขายคล่อง ธุรกิจดำเนินไปด้วยดี ประชาชนมีรายได้เพียงพอ ในการจับจ่ายซื้อสินค้าหรือบริการ
                ผลเสียของการบริโภค
                        1) ทำให้เกิดการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ถ้าผู้บริโภคใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการโดยการพิจารณารอบคอบ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของการโฆษณา ผู้บริโภคจะสูญเสียอำนาจการซื้อไป
                        2) เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค ถ้าผู้ผลิตไม่มีฝีมือ ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต  ผลิตสินค้าและบริการไม่มีคุณภาพ เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค เช่น ขนมใส่สี ก๋วยเตี๋ยวใส่ผงชูรส เป็นต้น ทำให้ผู้บริโภคต้องเพิ่มความระมัดระวังในการบริโภค
                        3) ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรง ในกรณีที่ผู้บริโภคทุกคน มีการบริโภค และการใช้จ่ายมากเกินระดับการเพิ่มของรายได้ ทำให้ราคาสินค้าหรือบริการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ประเทศมีภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรง เป็นอันตรายต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
                        4) ปัญหาหนี้สินของผู้บริโภค ที่เกิดจากการบริโภคที่เกินตัวกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อการบริโภค มีหนี้สินเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น จนไม่สามารถชำระหนี้ได้ เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม
                        5) ปัญหาการใช้ทรัพยากร ผู้ผลิตที่เร่งการผลิตมากจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้นจนบางครั้งขาดความรับผิดชอบต่อสังคมไม่มีคุณธรรม  เช่น การสร้างที่อยู่อาศัย  การจับปลามากขึ้น เป็นต้น
                        6) ปัญหาการค้าละดุลการชำระเงิน ถ้าผู้บริโภคมีรสนิยมซื้อสินค้า หรือบริการจากต่างประเทศมาก  ทำให้ประเทศต้องประสบภาวการณ์ขาดดุลการค้าและขาดดุลการชำระเงิน