1. การผลิต คืออะไร
“การผลิต”
(Production) ตามความหมายทางด้านเศรษฐศาสตร์ หมายถึง กระบวนการสร้างสินค้าและบริการต่าง
ๆ โดยใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดมาผลิตเป็นสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีมากมายไม่จำกัด
การผลิตเป็นการสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นแก่ ผู้ผลิต เจ้าของทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต
รวมทั้งผู้ที่บริโภคสินค้าและบริการ
หลักเกณฑ์การพิจารณาว่าเป็น “การผลิต” หรือไม่ มีดังนี้
ก. เป็นการทำให้เกิดสินค้า
(Goods) ที่สามารถสนองความต้องการของบุคคลได้ สินค้า (Goods)
มี 2 ชนิด คือ สินค้าที่ไม่ต้องมีการผลิตและไม่มีต้นทุนในการผลิต
เรียกว่า ทรัพย์เสรี (Free Goods) และสินค้าที่ต้องทำการผลิตและมีต้นทุนในการผลิต
เรียกว่า เศรษฐทรัพย์ (Economic Goods)
ข. มีการใช้แรงกายแรงความคิด
แรงสัตว์ หรือเครื่องจักร มาทำการแปรสภาพสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ เช่น การนำน้ำทะเลมาทำเป็นเกลือ
การนำหินมาเจียระไนเป็นเพชร เป็นต้น
ค. เป็นการสร้างอรรถประโยชน์ให้กับปัจจัยการผลิตต่าง
ๆ ก่อให้เกิดสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการและความพอใจของมนุษย์
2. วิวัฒนาการของการผลิต
1) ยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม
2) ยุคปฏิวัต
3) ยุคการทำวิจัย
4) ยุคข้อมูลข่าวสาร
3. ปัจจัยการผลิต (Factor
of Production)
ปัจจัยการผลิต หมายถึง ทรัพยากรที่ถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบของการผลิตสินค้า
หรือบริการ ปัจจัยการผลิต ได้แก่
1) ทุน (Capital Goods)
ในทางเศรษฐศาสตร์
2) ที่ดิน (Land)
3) แรงงาน (Labor)
4) ผู้ประกอบการ
(Entrepreneur)
4. ลำดับขั้นของการผลิตและการผลิตขนาดใหญ่
4.1 ลำดับขั้นของการผลิต สามารถจำแนกได้
3 ขั้น คือ
1)
การผลิตขั้นประถมหรือขั้นแรก (Primary Production)
2)
การผลิตขั้นมัธยมหรือขั้นสอง (Secondary Production)
3) การผลิตขั้นอุดมหรือขั้นที่สาม (Tertiary Production
ขั้นการผลิตทั้ง 3 ขั้นประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่มักจะมีการผลิตขั้นประถม
หรือขั้นแรก เพราะมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจน้อย ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วหรือมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
และเทคโนโลยี จะมีการผลิตขั้นมัธยมและขั้นอุดม
4.2 การผลิตขนาดใหญ่ (Mass Production)
การผลิตขนาดใหญ่ หมายถึง การผลิตสมัยใหม่ที่นำเทคโนโลยีการจัดการและวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาช่วยการผลิต
มีการแบ่งงานกันทำ เกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย และผลิตจำนวนมาก สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากพอ
ข้อดีของการผลิตขนาดใหญ่ คือสามารถสนองความต้องการของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น
ทำให้มาตรฐานการครองชีพของประชากรสูงขึ้น ลดปัญหาการว่างงาน ทำให้ประชากรมีงานทำมากขึ้น
และมีรายได้เพิ่มขึ้น สินค้ามีที่ราคาถูกลง สำหรับ ข้อเสียของการผลิตขนาดใหญ่ จะส่งผลให้อุตสาหกรรมขนาดเล็กได้รับการกระทบกระเทือนมาก
จนอาจต้องเลิกกิจการในที่สุด สาเหตุเนื่องมาจากการ ขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูงขึ้น
จนไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานมากขึ้น
5. ต้นทุนการผลิต (Cost of
Production)
ต้นทุนการผลิต หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่จ่ายไปในการดำเนินงานผลิตสินค้าและบริการ
ซึ่งต้นทุนในทางเศรษฐศาสตร์ (Economic cost) จะมีความหมายแตกต่างจากต้นทุนทางบัญชี
(Business cost) ดังนี้คือ
ต้นทุนทางบัญชี (Business cost) หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ ที่มักมีการจ่ายเป็นตัวเงินจริง ๆ
เป็นต้นทุนที่มองเห็นได้ชัดเจนหรือต้นทุนชัดแจ้ง
(Explicit Cost) ได้แก่ ค่าจ้าง เงินเดือน ค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าขนส่ง
ค่าวัตถุดิบ เป็นต้น และมีการลงบันทึกทางบัญชีใว้เป็นหลักฐาน ได้
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
(Economic cost) จะมีความแตกต่างจากต้นทุนทางบัญชี เพราะต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องจากการผลิต ซึ่งนอกจากต้นทุนที่จ่ายออกไปเป็นตัวเงินจริง
ยังรวมเอาต้นทุนที่ไม่ได้จ่ายออกไปเป็นตัวเงินจริง ๆ ซึ่งเป็นต้น ทุนไม่ชัดแจ้ง
(Implicit cost) หรือต้นทุนแอบแฝง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ผลิตจะต้องประเมินขึ้นมาและถือเป็นต้นทุนการผลิตส่วนหนึ่ง
ได้แก่ ราคาหรือผลตอบแทนของปัจจัยการผลิต ที่ผู้ผลิตเป็นเจ้าของโดยตรงและเมื่อนำมาใช้ในการผลิตสินค้าอย่างหนึ่ง
ก็หมดโอกาสที่จะนำไปใช้อย่างอื่น ผู้ผลิตจึงต้องคิดต้นทุนต้องที่ประเมินขึ้นมานี้ด้วย
เราเรียกว่า ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity cost) ให้กับปัจจัยการผลิต นั้น ๆ ด้วย เช่น ในการที่ผู้ผลิต ใช้อาคารหรือบ้านของตนเป็นสถานที่สำหรับการผลิตสินค้าแทนที่จะนำอาคารหรือบ้านไปให้คนอื่นเช่า
ซึ่งเขาจะได้รับค่าเช่าเป็นค่าตอบแทน ดังนั้น ค่าเช่าบ้านที่ผู้ผลิตควรจะได้รับแต่ไม่ได้ถือว่าเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสของเขา
ซึ่งต้นทุนดังกล่าวนี้ จะต้องนำมาคิดรวมในต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ด้วย ดังนั้นต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จึงเป็นการเอาต้นทุนค่าเสียโอกาสรวมกันเข้ากับต้นทุนทางบัญชี
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จึงสูงกว่าทางบัญชี และกำไรทางเศรษฐศาสตร์ก็จะน้อยกว่ากำไรทางบัญชีเสมอ
และเนื่องจากต้นทุนการผลิต เกิดขึ้นจากการใช้ปัจจัยการผลิต 2 ประเภท คือปัจจัยคงที่และปัจจัยผันแปร ดังนั้น ต้นทุนการผลิตจึงสามารถแบ่งออกได้ตามประเภทของการใช้ปัจจัยการผลิตได้ทั้งสอง
2 ประเภท ดังนี้
1) ต้นทุนคงที่ (Fixed cost)
2) ต้นทุนผันแปร (Variable cost)
6. ทฤษฎีการผลิต
(Production Theory)
โดยทั่วไปหน่วยผลิตจะพยายาม ทำให้เกิดผลผลิตมากที่สุดเท่าที่จะทำได้และพยายามทำให้เส้นต้นทุนต่ำที่สุด
เพื่อจะได้กำไรมากที่สุด ดังนั้นการศึกษาเรื่องการผลิตเราสามารถแบ่งระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตออกได้เป็น
2 ระยะ คือ
1)
การผลิตในระยะสั้น (Short Run) คำว่า ระยะสั้นในวิชาเศรษฐศาสตร์
หมายถึง ช่วงระยะเวลาของการผลิตที่หน่วยผลิตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิต บางอย่างได้
เมื่อต้องการขยายปริมาณการผลิต ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเราเรียกว่า ปัจจัยคงที่ ได้แก่โรงงาน
เครื่องจักร ที่ดิน เป็นต้น แต่หน่วยอาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะบางชนิดเท่านั้น
เราเรียกว่า ปัจจัยผันแปร ได้แก่ วัตถุดิบ เชื้อเพลิง ไฟฟ้า น้ำประปา เป็นต้น
ดังนั้นการผลิตในระยะสั้นจึงประกอบด้วยปัจจัยการผลิต 2 ชนิดคือ
ปัจจัยคงที่ และปัจจัยคงที่
2)
การผลิตในระยะยาว (Long Run) คำว่า ระยะยาวในวิชาเศรษฐศาสตร์หมายถึง
ช่วงเวลาที่ปัจจัยการผลิตทุกประเภทสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามความต้องการในการผลิตสินค้า
นั่นคือ ในระยะยาว ปัจจัยการผลิตทุกชนิดจะเป็นปัจจัยผันแปรทั้งหมด
การศึกษาการผลิตในระดับนี้ นักเรียน จะได้ทำการศึกษาแต่เฉพาะการผลิตในระยะสั้น
เท่านั้น การผลิตในระยะสั้น จะใช้ “กฎว่าด้วยผลตอบแทนลดลง”
(Law of Diminishing Retures) กฎนี้อธิบายว่า “เมื่อเพิ่มปัจจัยการผันแปรใด ๆ ทีละหน่วยเข้าไปทำงานร่วมกับปัจจัยคงที่จำนวนหนึ่ง
ในระยะแรกผลผลิตรวม (Total Product) จะเพิ่มในอัตราที่เพิ่มขึ้นแต่เมื่อเพิ่มปัจจัยผันแปรเข้าไปมากจนถึงระดับหนึ่งแล้ว
ผลผลิตรวมจะเพิ่งขึ้นในอัตราที่ลดลง”
เมื่อ ผลผลิตรวม (Total Product = TP) คือปริมาณผลผลิตทั้งหมดที่ได้รับจากการใช้ปัจจัยการผลิต
ผลผลิตเฉลี่ย (Average product = AP) คือปริมาณผลผลิตต่อหน่วย
AP
= ผลผลิตรวม
จำนวนปัจจัยการผลิต
ผลผลิตเพิ่ม (Marginal Product = MP) คือปริมาณผลผลิตทีได้รับเพิ่มขึ้นจากการใช้ปัจจัยผลผลิตเพิ่มขึ้นทีละ
1 หน่วย
. ความหมายของรายได้ประชาชาติ
“รายได้ประชาชาติ”
เป็นตัวเลขที่ใช้วัดการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
โดยปกติมีระยะเวลา 1 ปี
2. ความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายได้ประชาชาติ
เราสามารถอธิบายความหมายของรายได้ประชาชาติ
โดยแบ่งออกเป็นประเภทต่างได้ 6 ประเภท ดังนี้
1)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product- GDP) หมายถึงมูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นภายในประเทศนั้น
ๆ
สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย
หมายถึง สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคนำไปใช้ในการอุปโภคบริโภคเป็นขั้นสุดท้าย โดยไม่นำสินค้านั้นไปใช้ในการผลิตเป็นสินค้าและ/หรือบริการอื่น
ๆ อีกต่อไป
2)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product- GNP) หมายถึงมูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นโดยประชากรของประเทศ
โดยคิดตามราคาตลาดก่อนจากหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ในระยะเวลา 1 ปี
GNP
= GDP + F
3) ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติสุทธิ (Net National Product- NNP) หมายถึงมูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นโดยประชากรของประเทศนั้น
ๆ โดยคิดตามราคาตลาดหลังจากหักค่าใช้จ่ายที่กินทุนออกแล้ว ในระยะเวลา 1 ปี โดย
NNP
= GNP – ค่าใช้จ่ายที่กินทุน
4) รายได้ประชาชาติ (National Income- NI) หมายถึงมูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นโดยประชากรของประเทศนั้น
ๆ โดยคิดตามราคาตลาดหลังจากหักค่าใช้จ่ายที่กินทุน และภาษีทางอ้อมออกแล้ว ในระยะเวลา
1 ปีโดย
NI
= NNP – ภาษีทางอ้อม
5)
รายได้ส่วนบุคคล (Personal Income- PI) หมายถึงรายได้ส่วนบุคคลทั้งหมด
รวมทั้งรายได้ที่เป็นผลตอบแทนจากการใช้ปัจจัยการผลิตที่ตกถึงมือของบุคคลจริง ๆ โดย
PI
= NI – กำไรที่หน่วยธุรกิจกันไว้สำหรับการขยายกิจการ – ภาษีเงินได้นิติบุคคล + เงินโอน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือภาษีที่บริษัทหรือนิติบุคคลนั้น
ๆ จะต้องจ่ายให้แก่รัฐบาล โดยคิดจากผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการของหน่วยธุรกิจนั้น
ๆ
ส่วนเงินโอน คือเงินหรือสิ่งของที่ได้เปล่าโดยไม่มีสิ่งใดเป็นของตอบแทน
ก) เงินโอนของรัฐบาล เป็นเงินที่รัฐบาลให้การช่วยเหลือแก่บุคคล
เช่น เงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่เกษียณอายุราชการ เงินสงเคราะห์คนชรา เป็นต้น
ข)
เงินโอนของภาคเอกชน เป็นเงินที่หน่วยธุรกิจหรือบุคคลบริจากเพื่อเป็นการช่วยเหลือหรือเป็นการกุศลแก่บุคคลโดยมิได้หวังผลตอบแทน
6) รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ
(Disposable Personal Income- DPI) หมายถึงรายได้ที่บุคคลสามารถนำไปใช้จ่ายได้จริงเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ
หลังจากหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว โดย
DPI
= PI - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือภาษีที่บุคคลจะต้องจ่ายเพื่อเป็นรายได้แก่รัฐบาล
โดยคำนวณจากเงินได้ส่วนบุคคล
3. การคำนวณรายได้ประชาชาติ
การคำนวณรายได้ประชาชาติสามารถคำนวณได้
3 วิธีด้วยกันคือ
1)
การคำนวณรายได้ประชาชาติด้านผลผลิต (GNP)
2)
การคำนวณรายได้ประชาชาติด้านรายได้ (GNI)
3)
การคำนวณรายได้ประชาชาติด้านรายจ่าย (GNE)
3.1
การคำนวณรายได้ประชาชาติด้านผลผลิต (Production Approach)
เป็นการคำนวณหาผลรวมของมูลค่าของสินค้าและบริการเฉพาะที่เป็นผลผลิตขั้นสุดท้ายของสินค้าและบริการ (Final product) ที่ผลิตขึ้นภายในประเทศในระยะเวลา 1 ปี
3.2
การคำนวณรายได้ประชาชาติด้านรายได้ (Income Approach)
เป็นการคำนวณหารายได้ทั้งหมดของทั้งภาครัฐ
และเอกชนที่เกิดจากการผลิตสินค้าและบริการภายในประเทศในระยะเวลา 1 ปี โดย
รายได้ของภาครัฐ คือรายได้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการของรัฐบาล
เช่น รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ และรายได้จากการเก็บภาษีอากรของรัฐบาล
สำหรับรายได้ของภาคเอกชน คือรายได้ที่เกิดจากการนำเอาปัจจัยการผลิตต่าง
ๆ ไปผลิตเป็นสินค้าและบริการ เช่น แรงงาน ที่ดิน ทุน และการประกอบการ
ภาวะเงินเฟ้อ
1.1 ความหมายของเงินเฟ้อ (Inflation)
“เงินเฟ้อ” หมายถึงภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่ว ๆ ไปเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย
ๆ “ระดับราคา” ในที่นี้มิได้หมายความถึงเฉพาะราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ
แต่เราหมายความรวมถึงราคาสินค้าและบริการทุกประเภทที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน สำหรับประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์จะเป็นหน่วยงานที่จัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคขึ้น
เพื่อประชาชนได้ทราบถึงภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของระดับสินค้า โดยทั่ว ๆ ไทย เราสามารถจำแนกประเภทของเงินเฟ้อได้เป็น
3 ลักษณะ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของระดับราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลงดังนี้
1) ภาวะเงินเฟ้ออย่างอ่อน (Mild
Inflation) เป็นภาวะที่ระดับสินค้าโดยทั่ว
ๆ ไปค่อย ๆ สูงขึ้น ประมาณร้อยละ 1-5 ต่อปี การเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างอ่อนนี้ถือว่ายังไม่มีผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ
2) ภาวะเงินเฟ้อปานกลาง
(Moderate Inflation) เป็นภาวะที่ระดับสินค้าโดยทั่ว ๆ ไปสูงขึ้นอย่างรวดเร็วประมาณร้อยละ
5 แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี ซึ่งเป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้น
จนกระทบต่อการดำรงชีพของประชาชน
3) ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง
(Hyper Inflation) เป็นภาวะที่ระดับสินค้าโดยทั่ว ๆ ไปสูงขึ้นเกินกว่าร้อยละ
20 ต่อปี ราคาสินค้าโดยทั่ว ๆ ไปจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถที่จะซื้อสินค้าหรือบริการมาใช้ในการดำรงชีพได้ผู้ผลิตเองก็ขายสินค้าไม่ได้จะต้องลดการผลิตลงหรือเลิกกิจการ
ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยและตกต่ำในที่สุด
1.2 สาเหตุของการเกิดภาวะเงินเฟ้อ
ภาวะเงินเฟ้ออาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน แต่ที่สำคัญมักจะเกิดจากสาเหตุที่สำคัญ
2 ประการคือ
1) การเกิดภาวะเงินเฟ้อจากแรงดึงของอุปสงค์
(Demand Pull Inflation) เกิดขึ้นเมื่ออุปสงค์รวม
(Aggregate Demand ; AD) คือปริมาณความต้องการสินค้าและบริการของประชาชนโดยรวมมีมากกว่าอุปทานรวม
(Aggregate Supply ; AS) คือปริมาณสินค้าและบริการที่ผลิตได้ ซึ่งจะผลักดันให้ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้น
2) ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากแรงผลักดันของต้นทุนการผลิต
(Cost Push Inflation) เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตมีต้นทุนในการผลิตสูง
เช่น ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น ราคาของปัจจัยการผลิตสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นตามไปด้วย
1.3 ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อ
การเกิดภาวะเงินเฟ้อเนื่องจากระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นนั้นจะเป็นภาวะเงินเฟ้อลักษณะไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับสินค้าโดยทั่วไปเกิดขึ้นรวดเร็ว
มากน้อยเพียงใด ซึ่งการเกิดภาวะเงินเฟ้อก็จะมีผลกระทบต่อบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ดังนี้
1) เกษตรกร โดยทั่วไปแล้ว เกษตรกรมักจะได้รับประโยชน์จากการเกิดภาวะเงินเฟ้อ
เพราะราคาของพืชผลทางการเกษตรจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าต้นทุนการผลิตของเกษตรกร เช่น ราคา
เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย เครื่องมือเครื่องใช่ และค่าจ้างแรงงาน
2) พ่อค้าและนักธุรกิจ โดยทั่วไปแล้วพ่อค้าและนักธุรกิจมักจะเป็นผู้ซื้อมาแล้วขายไปจะได้รับประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อ
เพราะราคาสินค้าที่สูงขึ้นทำให้สามารถขายสินค้าที่มีอยู่ในต๊อกได้ในราคาที่สูงขึ้น
3)
ผู้มีรายได้ประจำ (Fixed Income) ได้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ และผู้ที่ทำงานในบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ซึ่งมีรายได้จากเงินเดือนและค่าจ้าง
4)
ลูกหนี้และเจ้าหนี้ ลูกหนี้นั้นโดยทั่วไปแล้วจะได้รับผลประโยชน์จากการเกิดภาวะเงินเฟ้อ
เพราะลูกหนี้จะมีรายได้เป็นตัวเงิน (Money Income) สูงขึ้น สามารถที่จะชำระหนี้ได้
ส่วนเจ้าหนี้นั้นจะอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบ เพราะเงินที่จะได้รับจากการชำระหนี้ลูกหนี้นั้น
จะมีอำนาจซื้อ
5) รัฐบาล การเกิดภาวะเงินเฟ้อมักจะก่อให้เกิดปัญหาแก่รัฐบาลในการที่รัฐบาลจะต้องหามาตรการ
และแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นตามมา เพราะเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น
รัฐบาลจำเป็นต้องปรับเงินเดือน ค่าจ้าง ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างให้สูงขึ้น
2. ภาวะเงินฝืด
2.1 ความหมายของเงินฝืด (Deflation)
“เงินฝืด” เป็นภาวะที่ระดับสินค้าโดยทั่ว ๆ
ไป ลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ
แต่ที่สำคัญคือเกิดจากการที่ประชาชนหรือเอกชน และรัฐบาลมีการลดการใช้จ่ายสำหรับซื้อสินค้าและบริการลงจนทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถขายสินค้าและบริการได้
ผู้ขายจึงต้อยลดราคาสินค้าและบริการลง ถ้าการลดลงของราคาสินค้าและบริการเป็นไปอย่างรวดเร็วจนทำให้ผู้ผลิตต้องลดปริมาณการผลิตหรือหยุดกิจการ
ก็จะนำไปสู่การว่างงาน และส่งผลต่อสภาวะเศรษฐกิจให้ตกต่ำลง
2.2 สาเหตุของการเกิดภาวะเงินฝืด
การเกิดภาวะเงินฝืด
เนื่องจากอุปสงค์รวม (AD) หรือความต้องการในสินค้า และบริการของประชาชนมีน้อยกว่าอุปทาน
(AS) หรือปริมาณสินค้าและบริการที่ผลิตได้ ซึ่งส่งผล ซึ่งส่งผลให้ระดับราคาสินค้าโดยทั่ว
ๆ ไปลดลง สืบเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
1)
การที่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินลดการให้สินเชื่อแก่ประชาชนน้อยลง
2)
รัฐบาลใช้นโยบายงบประมาณเกินดุล คือการใช้จ่ายของรัฐบาลน้อยกว่ารายได้ที่เกิดขึ้นจากการจัดเก็บภาษีจากประชาชน
ทำให้ปริมาณเงินที่เหลืออยู่ในมือของประชาชนเพื่อใช้จ่ายน้อยลง
3) ประชาชนมีการเก็บเงินไว้โดยไม่ยินดีที่จะนำเงินออกมาใช้จ่าย ซึ่งเป็นผลให้การบริโภคของประชาชนลดลง
4)
รัฐบาลมีการจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้น ทำให้ประชาชนต้องเสียภาษีให้กับรัฐมากขึ้น
และมีรายได้เพื่อจับจ่ายใช้สอยน้อยลง
2.3 ผลของการเกิดภาวะเงินฝืด
การเกิดภาวะเงินฝืดจนทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ เช่น การลดลงของการผลิตหรือการปิดกิจการของธุรกิจ
จนนำไปสู่ปัญหาการว่างงาน และการตกต่ำทางเศรษฐกิจ ย่อมส่งผลกระทบต่อบุคคลต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจ
คือ
1)
เกษตรกรจะได้รับผลกระทบจากภาวะเงินฝืดคือ รายได้ที่เกษตรกรได้รับจากการขายพืชผลทางการเกษตรจะลดลงเพราะระดับราคาสินค้าที่ลดลงอย่างรวดเร็ว
2)
พ่อค้าและนักธุรกิจ ขานสินค้าได้น้อยลง เพราะประชาชนไม่มีอำนาจซื้อ ทำให้ต้องลดราคาสินค้าให้ต่ำลง
อาจทำให้ต้องประสบภาวการณ์ขาดทุน จนเลิกกิจการได้
3)
ผู้มีรายได้ประจำได้แก่ข้าราชการ หรือลูกจ้างทั้งของรัฐ และเอกชน จะอยู่ในฐานะได้เปรียบเพราะมีรายได้จะสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูก
และได้ในปริมาณที่มากขึ้น
4)
ลูกหนี้และเจ้าหนี้ ลูกหนี้นั้นจะอยู่ในฐานะเสียเปรียบ ในขณะที่ที่เจ้าหนี้นั้นจะอยู่ในฐานะได้เปรียบ
เพราะลูกหนี้นั้นจะมีความยากลำบากในการหาเงินมาชำระหนี้มากขึ้น
5)
รัฐบาล การเกิดภาวะเงินฝืดนั้นส่งผลให้รายได้ของรัฐบาลจากการเก็บภาษีลดน้อยลง
ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพื่อนำมาใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ และแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้น้อยลง
3. เงินตึงตัว
3.1 ความหมายของเงินตึงตัว (Tight Money)
“เงินตึงตัว”
(Tight Money) เป็นภาวะที่ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ สำหรับการให้กู้ยืมมีไม่เพียงพอต่อความต้องการในการกู้ยืม
เป็นปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นในระยะสั้น ซึ่งจะเกิดขึ้นในขณะที่การลงทุนโดยทั่วไปกำลังขยายตัว
เมื่อเกิดภาวะเงินตึงตัวเกิดขึ้น ทำให้การลงทุนไม่สามารถขยายตัวได้ เพราะมีเงินทุนไม่เพียงพอ 3.2 สาเหตุของภาวะเงินตึงตัว
ภาวะเงินตึงตัวอาจมีสาเหตุมาจากทั้งภายในประเทศและสาเหตุมาจากต่างประเทศ
กล่าวคือ สาเหตุจากภายในประเทศ เช่น ในกรณีที่รัฐบาลเห็นว่าแนวโน้มของราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้น
อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นได้ในอนาคต รัฐบาลใช้นโยบายในการลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลง
โดยการให้สถาบันการเงินชะลอการขยายสินเชื่อในขณะที่ความต้องการสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจมีสูง
ก็ส่งผลให้เกิดการภาวะเงินตึงตัวขึ้น ส่วนสาเหตุจากภายนอกประเทศ อย่างเช่น กรณีที่ประเทศต่างๆ
ทั่วโลกต้องประสบกับภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง จนอาจทำให้ประเทศต้องระสบกับภาวการณ์ขาดดุลการค้า
และดุลการชำระเงิน ซึ่งอาจส่งผลให้เงินสำรองของประเทศน้อยลง ทำให้รัฐบาลต้องใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว
เพื่อป้องกันมิให้ทุนสำรองของประเทศลดลง
ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกจะสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนเงินกู้ยืมจากต่างประเทศสูงขึ้น
การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศลดลง ซึ่งอาจทำให้ปริมาณเงินที่จะนำมาใช้สนองความต้องการภายในประเทศลดลงไปด้วย
Gila River Casino and Hotel - Dr. Mississippi
ตอบลบDr. Mississippi Hotel 김해 출장샵 and Casino in Biloxi, 포항 출장안마 Mississippi, 고양 출장마사지 United States - 부산광역 출장샵 check-in and check-out. 김해 출장마사지 Menu, Hours, Policies.