1. ความหมายของเศรษฐศาสตร์
ในเบื้องต้นผู้ศึกษาควรเข้าใจความหมายเพื่อกำหนดขอบเขตแห่งการเรียนรู้วิชาเศรษฐศาสตร์
(Economics) เศรษฐศาสตร์เป็นแขนงหนึ่งในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมในการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
เพื่อผลิตสินค้าและบริการตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
มีผู้นิยามความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ไว้เป็นจำนวนมาก สามารถสรุปได้ความว่า “เศรษฐศาสตร์ คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมในการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
เพื่อผลิตสินค้าและบริการตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด”
2. การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
นักเศรษฐศาสตร์ในยุคปัจจุบันได้แบ่งการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็น
2 แขนง คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) และเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)
3. ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์
แนวความคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยสอดแทรกแนวความคิดเกี่ยวกับ
“การกินดีอยู่ดี” (Wellbeing) ซึ่งนักปรัชญา และนักจิตวิทยา
เช่น พลาโต (Plato) ได้ให้แนวความคิดเรื่อง “การแบ่งงานกันทำ” (Division of Labor) อริสโตเติล
(Aristotle) มีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่อง “ความมั่งคั่ง”
และ “มูลค่า” โทมัส อกิแนส์ (Thomas Aquinas)
ให้ความคิดเห็นเรื่องมูลค่าของสิ่งของว่า “ควรเป็นราคายุติธรรม”
เป็นต้น เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไป แนวความคิดต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนาไปเรื่อย
ๆ จนเกิดแนวความคิด การแสวงหากำไรเป็นเป้าหมายของการผลิตในปัจจุบัน จากแนวความคิดนี้จึงเป็นจุดกำเนิดของวิชาเศรษฐศาสตร์
3.1 ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์ในต่างประเทศ
อดัม สมิธ (Adam Smith) ได้เขียนหนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มแรก
ชื่อ “The Wealth of Nation จอห์น สจ๊วต มิลล์
(John Stuart Mill) ได้ให้คำนิยามวิชาเศรษฐศาสตร์ว่า “เป็นศาสตร์ของการผลิตและการแบ่งสรรความมั่งคั่ง”
ศาสตราจารย์ อัลเฟรด มาร์แชล (Alfred
Marshall) ได้เขียนหนังสือเรื่อง “ทฤษฎีว่าด้วยการผลิต
(Theory of the Firm)” ซึ่งเป็นที่มาของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค
โดยเสนอแนะให้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ศาสตราจารย์
จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์
(John Maynard Keynes) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้เขียนหนังสือเรื่อง
“ทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับการจ้างงาน ดอกเบี้ย และภาวเงินตรา
(The General Theory of Employment, Interest and Money)”
3.2 ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย
หนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของไทยชื่อว่า “ทรัพย์ศาสตร์”
ซึ่งเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยพระยาสุริยานุวัตร
(เกิด บุนนาค) ได้เรียบเรียงขึ้นในปี พ.ศ. 2454 แต่รัฐบาล
ในสมัยนั้นขอร้องมิให้นำหนังสือเล่มนี้ออกเผยแพร่ ภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศปี พ.ศ. 2475 ได้มีการนำมาจัดพิมพ์ใหม่ ชื่อว่า “เศรษฐศาสตร์วิทยาภาคต้น เล่ม 1” ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ภาค ภาคหนึ่งว่าด้วยการสร้างทรัพย์ ส่วนภาคที่สองว่าด้วยการแบ่งปันทรัพย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) ได้เขียนหนังสือเรื่อง “ตลาดเงิน” แต่ยังมิทันได้มีการศึกษา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2477 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง จึงเริ่มมีการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์อย่างจริงจังตามแนวคิดของเศรษฐศาสตร์
ในสมัยนั้นขอร้องมิให้นำหนังสือเล่มนี้ออกเผยแพร่ ภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศปี พ.ศ. 2475 ได้มีการนำมาจัดพิมพ์ใหม่ ชื่อว่า “เศรษฐศาสตร์วิทยาภาคต้น เล่ม 1” ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ภาค ภาคหนึ่งว่าด้วยการสร้างทรัพย์ ส่วนภาคที่สองว่าด้วยการแบ่งปันทรัพย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) ได้เขียนหนังสือเรื่อง “ตลาดเงิน” แต่ยังมิทันได้มีการศึกษา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2477 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง จึงเริ่มมีการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์อย่างจริงจังตามแนวคิดของเศรษฐศาสตร์
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์อื่น
ๆ
1) เศรษฐศาสตร์กับวิชาบริหารธุรกิจ 2) เศรษฐศาสตร์กับรัฐศาสตร์ 3) เศรษฐศาสตร์กับนิติศาสตร์ 4) เศรษฐศาสตร์กับประวัติศาสตร์ 5) เศรษฐศาสตร์กับจิตรวิทยา
5. ประโยชน์ของการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการนำเอาทรัพยากรอันมีอยู่อย่างจำกัดมาทำการผลิตเป็นสินค้าและบริการและจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการดังกล่าวไปบำบัดความต้องการที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดของมนุษย์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เราสามารถสรุปถึงประโยชน์ที่บุคคลต่าง ๆ ได้รับจากการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ ดังนี้
ในฐานะผู้บริโภค สามารถเลือกบริโภคสินค้าหรือบริการที่มีคุณประโยชน์
และสนองความต้องการของตนให้เกิดความพอใจสูงสุด (Maximum Satisfaction) และประหยัดที่สุด
ในฐานะเจ้าของปัจจัยการผลิต รู้จักใช้ปัจจัยการผลิตให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าและได้รับค่าตอบแทนการใช้ปัจจัยการผลิตในรูปรายได้สุทธิมากที่สุด (Maximum net gain)
ในฐานะผู้ผลิต ก่อให้เกิดจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
เพื่อแปรรูปทรัยากรให้เป็นสินค้าหรือบริการที่สนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภคให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ในฐานะประชากรของประเทศ
ช่วยให้เข้าใจในสภาพของภาวะทางเศรษฐกิจ
เข้าใจบทบาทและมาตรการในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐที่อาจจะส่งผลต่อการดำเนินชิวิต
ในฐานะนักศึกษา ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ช่วยให้นักศึกษามีความเข้าใจในสภาพของภาวะทางเศรษฐกิจ
สามารถแสดงตนให้เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตที่ดีในสังคม
ในฐานะผู้บริหารประเทศ
สามารถนำความรู้และข้อมูลทางเศรษฐกิจของประเทศมากำหนดเป็นนโยบายเศรษฐกิจของประเทศในการตัดสินใจแก้ปัญหาได้
1. ความหมายของระบบเศรษฐกิจ
“ระบบเศรษฐกิจ” (Economic System) หมายถึง กลุ่มของสถาบันทางเศรษฐกิจ
(Economic institution) ที่มีการรวมตัวกันกำหนดกดเกณฑ์เพื่อใช้ในการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจของประเทศโดยมีการกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจนในการควบคุมดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
(Economic Activities) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
“สถาบันทางเศรษฐกิจ” (Economic institution) หมายถึง หน่วยเศรษฐกิจ
(Economic Units) ที่ทำหน้าที่จัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การผลิต การแลกเปลี่ยน
การขนส่ง การเงินการธนาคาร และบริการต่าง ๆ เป็นต้น หน่วยเศรษฐกิจ จัดเป็นองค์กรประกอบสำคัญของระบบเศรษฐกิจ
ได้แก่ ผู้บริโภค เจ้าของปัจจัยการผลิต และผู้ผลิตซึ่งอยู่ในรูปลักษณะต่าง ๆ เช่น เป็นบุคคล
ครอบครัว สหกรณ์ ห้างหุ้นส่วน องค์กรของรัฐ ฯล “ระบบเศรษฐกิจ” เป็นเรื่องของรัฐหรือผู้ปกครองประเทศจะใช้อำนาจเข้าไปจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ
เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสถาบันทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินการไปได้
2. หน้าที่และความสำคัญของระบบเศรษฐกิจ
จากทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด แต่ความต้องการสินค้าและบริการของผู้บริโภคมีอยู่อย่างไม่จำกัด
ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดของสังคม หรือประเทศนั้น ๆ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน
ดังนั้นทุกสังคมจะต้องประสบปัญหาอย่างเดียวกันที่เรียกว่า “ ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ”
ซึ่งระบบเศรษฐกิจจะต้องทำหน้าที่แก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
3 ประการ ดังนี้
1) จะผลิตอะไร
(What) เป็นปัญหาที่จะต้องตัดสินใจว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการอะไร และจะผลิตเป็นจำนวนเท่าใด
ด้วยปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด
2) จะผลิตอย่างไร
(How) เป็นการตัดสินใจว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการต่าง ๆ โดยวิธีการอย่างไร
ใช้ปัจจัยการผลิตอะไรบ้างในสัดส่วนเท่าไร จึงจะเกิดประสิทธิภาพดีที่สุด และเกิดผลดีกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
3) จะผลิตเพื่อใคร
(For Whom) เป็นการตัดสินใจว่าสินค้าและบริการที่ผลิตได้ ทั้งหมด จะจำหน่ายแจกจ่ายไปยังบุคคลใดบ้าง
เพื่อให้บุคคลนั้นได้รับประโยชน์สูงสุด
3. ลักษณะของหน่วยเศรษฐกิจ
หน่วยเศรษฐกิจ
(Economic) หมายถึง ผู้ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อันได้แก่ กิจกรรมการผลิต การบริโภค และการแจกจ่ายสินค้าและบริการไปยังแหล่งต่าง
ๆ หน่วยเศรษฐกิจเหล่านี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามหน้าที่ทางเศรษฐกิจ
คือ
3.1 หน่วยครัวเรือน
(Household) ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดในสังคม หรืออีกนัยหนึ่งก็คือประชาชนทั่วไปในประเทศนั้น
ๆ ทำหน้าที่เป็นผู้บริโภค และเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ดังนั้นครัวเรือน จึงทำหน้าที่
2 ประการ คือ
1)
ทำหน้าที่บริโภคสินค้าและบริการ
2)
ทำหน้าที่เสนอขายปัจจัยการผลิตให้แก่หน่วยธุรกิจบุคคลประเภทนี้เรียกว่า
เจ้าของปัจจัยการผลิต (Facto Owners) มีจุดมุ่งหมายให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุด
ปัจจัยการผลิตที่ว่านี้ประกอบด้วย “ทุน” ซึ่งหมายถึง สิ่งปลูกสร้าง เช่น อาคาร โรงงาน และเครื่องมือ เครื่องจักร ที่ใช้ในการผลิต
รวมถึงแรงงานสัตว์ ผลตอบแทนทางทุนคือ ดอกเบี้ย “ที่ดิน”
หมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติที่ปรากฏบนดิน หรือใต้ดิน เช่น แร่ธาตุ สัตว์น้ำ
ป่าไม้ ผลตอบแทนจากการใช้ดิน คือ ค่าเช่า “แรงงาน” เป็นทรัพยากรมนุษย์ซึ่งต้องใช้ทั้งแรงกายและแรงความคิด
โดยได้รับ ผลตอบแทนในรูป
ค่าจ้าง ส่วนปัจจัยการผลิตตัวสุดท้าย คือ ผู้ประกอบการซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ เช่นเดียวกับแรงงาน
แต่มีหน้าที่รวบรวมปัจจัยการผลิต มาผลิตเป็นสินค้า และบริการเพื่อสนองความต้องการได้แก่
ครัวเรือน โดยคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนในรูปของกำไรแต่ขณะ เดียวกันผู้ประกอบการก็เสี่ยงต่อการขาดทุนด้วย
3.2
หน่วยธุรกิจหรือผู้ผลิต (Firms) ประกอบด้วยบุคคลที่ทำหน้าที่รวบรวมปัจจัยการผลิต
จากหน่วยครัวเรือน มาทำการผลิตสินค้าบริการ เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าและบริการแก่หน่วยครัวเรือน
เพื่อการบริโภค หน่วยธุรกิจจึงเป็นผู้ใช้ปัจจัยการผลิต ได้แก่ ทุน ที่ดิน แรงงาน และผู้ประกอบการ
โดยผู้ผลิตมีจุดมุ่งหมายให้ได้กำไรสูงสุด (Maximum Profit)
4.
ประเภทของระบบเศรษฐกิจ
เราสามารถจำแนกระบบเศรษฐกิจได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ได้ ดังนี้
1) ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
(Capitalist Economic System )
2) ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
(Communism Economic System)
3) ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
(Mixed Economy)
4.1 ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
(Capitalist Economic System)
ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมีดังนี้
1) เอกชนมีเสรีภาพในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการตามความพึงพอใจ
2) เอกชนมีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์สินตามกฎหมาย
สามารถยกทรัพย์สินของตนไปแสวงหารายได้โดยได้รับผลตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ดอกเบี้ย
ค่าเช่า หรือสามารถยกทรัพย์สินของตนให้เป็นมรดกตกทอดหรือให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งก็ได้
3) เอกชนเป็นผู้ดำเนินการผลิตสินค้าและบริการ
จำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการได้ โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปแทรกแซง เปิดโอกาสให้เอกชนได้ใช้ความสามารถในการดำเนินกิจการทุกประเภท
แม้แต่กิจการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา เป็นต้น
4) การดำเนินกิจกรรทางเศรษฐกิจ จะมีกลไกราคาเป็นสิ่งกำหนดว่าจะผลิตอะไร
ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร
5) มีการแข่งขันในด้านการผลิต การจำหน่าย
และการบริโภค ในระบบเศรษฐกิจแบบนี้ผู้
ผลิต จะเกิดการแข่งขันในการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อตามความพอใจ
4.2 ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialist
Economic System)
เราสามารถแยกระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
4.1.1 ระบบระบบคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยมแบบเข้ม(Communism)
ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
1) รัฐเป็นผู้กำหนดการบริโภคของประชาชน
ความเหมาะสม และจำเป็นเท่านั้น ประชาชนจะไม่มีสิทธิเลือกบริโภคสินค้าและบริการ
2) รัฐเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ซึ่งสามารถนำไปผลิตสินค้า
และบริการหรือนำไปแสวงหารายได้
3) ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกประกอบอาชีพ
รัฐจะเป็นผู้กำหนดและจ่ายค่าจ้างให้แก่ประชาชน ผลตอบแทนในระบบคอมมิวนิสต์จึงมีเพียง
ค่าจ้าง เท่านั้น
4)
รัฐจะเป็นผู้กำหนดการผลิตว่าจะผลิตอะไร อย่างไร
และเพื่อใคร โดยไม่ใช้กลไกของราคาทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรทั้งหมดของรัฐ รัฐจึงกำหนดภาคได้เพียงผู้เดียว
4.1.2 ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
(Socialism)
ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
1) รัฐจะเข้าควบคุมและโอนกิจการธนาคารทั้งหมดมาเป็นของรัฐ
เพราะธนาคารเป็นแหล่งระดมเงินทุนขนาดใหญ่ ที่รัฐสามารถนำไปใช้พัฒนาประเทศได้
2) รัฐควบคุมอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานและอุตสาหกรรมหนังไว้ทั้งหมด
3) รัฐควบคุมและดำเนินงานด้านสาธารณูปโภค
เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ รถยนต์โดยสาร
4.3 ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)
ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1) รัฐและเอกชน ร่วมกันวางแผนดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจว่า
จะผลิตอะไร จำนวนเท่าใด และจำแนกแจกจ่ายให้ใครบ้าง
2) รัฐและเอกชน เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
โดยรัฐจะดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เฉพาะส่วนที่จำเป็นต่อความมั่นคงปลอดภัยของประชากรในประเทศ
หรือต้องการแบ่งภาระในกิจกรรมที่เอกชนต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล เพราะเอกชนอาจไม่มีเงินลงทุนเพียงพอ
3) ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการถือครองทรัพย์สินต่าง
ๆ เช่นเดียวกับระบบทุนนิยม
4) มีการใช้ “กลไกราคา” เป็นสิ่งกำหนดราคาสินค้าหรือบริการในตลาด แต่ในบางกรณีรัฐจะเข้าแทรกแซง
เพื่อกำหนดราคาสินค้าและบริการให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต
5. ข้อดีและข้อเสียของระบบเศรษฐกิจประเภทต่าง
ๆ
5.1
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ข้อดี
1)
รัฐให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน ในการผลิตและบริโภคสินค้าหรือบริการเต็มที่
2)
ประชาชนทุกคนมีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
3)
กลไกราคาของตลาดหรือปริมาณความต้องการซื้อและขายสินค้าหรือบริการจะเป็นตัวกำหนดราคาสินค้าหรือบริการโดย
อัตโนมัติ รัฐบาลจะไม่เข้ามาแทรกแซงการกำหนดราคาและปริมาณการผลิต
4)
รัฐบาลจะไม่แทรกแซงการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน
โดยให้เอกชนได้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจกิจ ตามกำลังความสามารถของตน
5)
เกิดการแข่งขันและพัฒนาการผลิตอยู่เสมอ
ข้อเสีย
1)
เกิดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้
2)
ใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย
3)
ผู้ผลิตสามารถรามตัวผูกขาดการผลิตได้เนื่องจากรัฐไม่เข้าแทรกแซงทำให้ราคาสินค้าและค่าแรงงานต่ำ
5.2
ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
ข้อดี
1)
ปัจจัยพื้นฐานทั้งหมดเป็นของรัฐ เช่น ถนน สะพาน เขื่อน ทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้น
ทำให้รัฐสามารถใช้ประโยชน์และบริการประชาชนได้เต็มที่
2)
รัฐควบคุมกิจการสาธารณูปโภคและกิจการใหญ่
ๆ ทำให้ประชาชนบริโภคอย่างทั่วถึงและในราคาที่เป็นธรรม
3)
รัฐเป็นผู้วางแผนและกำหนดการผลิต ทำให้
มีการใช้ทรัพยากรที่ประหยัด เหมาะสม และมีการผลิตที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ
4)
เป็นระบบที่สามารถลดช่องว่างทารายได้ของคนในสังคม
ซึ่งเป็นผลจากการเก็บภาษีของรัฐ และการนำรายได้จากกิจการของรัฐ มาใช้จ่ายเพื่อให้ประชากินดีอยู่ดีมีการจัดรัฐสวัสดิการ
เป็นการให้บริการโดยรัฐแก่ประชาชน เช่น การรักษาพยาบาลการจัดการศึกษาภาคบังคับ เป็นต้น
ข้อเสีย
1)
ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าและบริการไม่ได้รับการพัฒนา
เพราะผู้ผลิตขาดสิ่งจูงใจในการผลิต
2)
ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพในการบริโภคเพราะรัฐเป็นผู้กำหนดการบริโภคของประชาชน
3)
ประชาชนไม่มีสิทธิถือครองทรัพย์
4)
การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ล่าช้า เพราะนโยบายหรือแผนจะต้องมาจากรัฐเท่านั้นเอกชนไม่มีเสรีภาพในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจเพราะเป็นไปตามที่รัฐกำหนด
5.3
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ข้อดี
1)
ประชาชนมีรายได้ที่ใกล้เคียงกัน
2)
ประชาชนมีงานทำตามที่รัฐจัดหาให้
3)
รัฐวางแผนการผลิตทั้งหมด ทำให้ควบคุมการผลิตได้ถูกต้อง
ประชาชนไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่ต้องถือครองทรัพย์สิน
ข้อเสีย
1)
การผลิตถูกจำกัดส่วนใหญ่รัฐเป็นผู้กำหนดการผลิตมากกว่าเอกชน
2)
รัฐไม่เปิดโอกาสให้เอกชนได้เป็นเจ้าของกิจการใหญ่
เพราะรัฐดำเนินกรเองรายได้ส่วนใหญ่ถูกควบคุมโดยรัฐ เพราะรัฐ มีรายได้จากกิจการใหญ่
ๆ ที่รัฐครอบครอง
5.4
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ข้อดี
1)
รัฐและเอกชนร่วมกันเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
2)
ประชาชนมีเสรีภาพในการบริโภค การผลิต
3)
รัฐและเอกชนร่วมกันวางแผนเศรษฐกิจและกำหนดการผลิต
4)
รัฐบริการด้านสาธารณูปโภค ตลาดทำงานผ่านกลไกราคา
โดยรัฐเข้าแทรกแซงบ้างเพื่อสร้างความเป็นธรรม
ข้อเสีย
1)
เกิดช่องว่างทางรายได้และปัญหาการกระจายรายได้
2)
รัฐเข้าแทรกแซงระบบกลไกราคาทำให้เกิดปัญหาการคอร์รัปชั่น
3)
ในกรณีที่รัฐแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากเกินไปอาจทำให้ผู้ผลิตขาดแรงจูงใจในการลงทุน
4)
รัฐเปิดโอกาสให้เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทำให้ผู้ที่มีความสามารถสูงได้เปรียบและมีโอกาสเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตมากกว่าผู้ที่ด้อยความสามารถ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น