1. อุปสงค์ (Demand)
1.1
ความหมายของอุปสงค์
อุปสงค์
หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดในเวลาใด
เวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่าง ๆ กัน โดยอุปสงค์ตามความหมายของเศรษฐศาสตร์นั้นจะต้องประกอบด้วยอำนาจการซื้อ (Purchasing Power) และความเต็มใจที่จะซื้อสินค้าและบริการนั้นด้วย (Willing to
Purchase) เราแบ่งอุปสงค์ออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
1)
อุปสงค์ต่อราคา
2)
อุปสงค์ต่อรายได้
3)
อุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.2
กฎของอุปสงค์ (Low of Demand)
กฎของอุปสงค์อธิบายว่า “ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง
จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาของสินค้าชนิดนั้น” นั่นคือ เมื่อราคาของสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งสูงขึ้น ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้น
ๆ จะลดลง และในทิศทางตรงกันข้ามถ้าราคาของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งลดลง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้น
ๆ จะเพิ่มขึ้น ตารางอุปสงค์และเส้นอุปสงค์ (Demand Schedule and
Demand Line)
ตารางอุปสงค์
คือ ตารางที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งกับราคาของสินค้าและบริการชนิดนั้น
ๆ ณ ระดับราคาต่าง ๆ กัน
1.3
ปัจจัยกำหนดอุปสงค์
จากการอธิบายความหมายของอุปสงค์อุปสงค์ที่ผ่านมาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าอุปสงค์จะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการตามกฎของอุปสงค์
โดยราคาจะเป็นปัจจัยที่กำหนดปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการ เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่นคงที่
แต่ความต้องการซื้อสินค้าและบริการในเวลาขณะใดขณะหนึ่งมิได้ขึ้นอยู่กับราคาของสินค้าและบริการเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเท่านั้น
แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยตัวอื่นๆ อีก ได้แก่
1) รายได้ รายได้ของผู้บริโภคเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค
นั้นคือ เมื่อผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นผู้บริโภคก็จะมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น
ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้บริโภคมีรายได้ลดลงผู้บริโภคก็จะมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการลดลงด้วย
2) รสนิยมของผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงในรสนิยมของผู้บริโภคมีผลทำให้ความต้องการสินค้าเปลี่ยนแปลงไปด้วย
เช่น ผู้บริโภคนิยมรับประทานผักผลไม้แทนการรับประทานเนื้อสัตว์ ย่อมทำให้ความตองการผักผลไม้ก็จะเพิ่มขึ้น
3) ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง เราแบ่งสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องกันได้ 2 ประเภท
คือ 1) สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (Complementary) เช่น กาแฟกับน้ำตาล เป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน
4) จำนวนประชากร ถ้าจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นจะทำให้ปริมาณความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น
และถ้าจำนวนประชากรลดลงความต้องการซื้อสินค้าและบริการย่อมลดลงด้วย
5) การโฆษณา การโฆษณาสินค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
การโฆษณาที่ดีจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจในสินค้าและบริการและทำให้ความต้องการซื้อสินค้าและบริการนั้น
เพิ่ม มากขึ้น
6) ฤดูกาล เช่น ฤดูหนาว อุปสงค์หรือความต้องการซื้อน้ำอัดลมจะลดลง
ส่วนฤดูร้อนความต้องการซื้อน้ำอัดลมจะเพิ่มขึ้น
7) การคาดคะเนราคาของผู้บริโภค เช่น ผู้บริโภคคาดคะเนว่าราคาน้ำมันพืชจะสูงขึ้นในอนาคต
ผู้บริโภคก็จะพากันไปซื้อน้ำมันพืชมาเก็บไว้มากขึ้น ทำให้ความต้องการซื้อน้ำมันพืชในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นต้องการซื้อหรืออุปสงค์ของสินค้าอีกชนิดหนึ่ง
1.4
การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์
เนื่องจากอุปสงค์ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง
ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อที่ผ่านมา ดังนั้นเมื่อปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้นเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ด้วย
เราสามารถพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ได้ 2 ลักษณะดังนี้
1)
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์ เป็นการเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการซึ่งเป็นไปตามกฎของอุปสงค์
นั้นคือ ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงข้ามกับการเปลี่ยนแปลงของราคา
2) การเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปสงค์ เป็นการเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากปัจจัยชนิดอื่นๆ
ที่ไม่ใช่ราคาสินค้าและบริการชนิดนั้นๆ เปลี่ยนแปลง (ราคาสินค้าและบริการชนิดนั้น ๆ คงที่) เช่น รายได้ รสนิยม ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ที่ไม่ใช่ราคาสินค้าและบริการชนิดนั้นๆ เปลี่ยนแปลง (ราคาสินค้าและบริการชนิดนั้น ๆ คงที่) เช่น รายได้ รสนิยม ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
2.
อุปทาน (Supply)
2.1
ความหมายของอุปทาน
อุปทาน หมายถึง ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดในระยะเวลาใด
เวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ กัน โดยผู้ขายต้องมีสินค้าพร้อมที่จะขายและมีความเต็มใจขาย
2.2
กฎของอุปทาน (Law of Supply)
กฎของอุปทานอธิบายว่า
“ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการเสนอขายสินค้าและบริการจะมีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดี่ยวกัน
นั้นคือ เมื่อราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ผู้ผลิตหรือผู้ขาย จะมีความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการมากขึ้น
และเมื่อราคาสินค้าและบริการลดลง ผู้ผลิตหรือผู้ขาย จะมีความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการน้อยลง”
ตารางอุปทานและเส้นอุปทาน (Supply Schedule or
Supply Line )
ตารางอุปทาน คือ ตารางที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการเสนอขายสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งกับราคาขาย
สินค้าและบริการชนิดนั้น ๆ ณ ระดับราคาต่าง ๆ
เส้นอุปทาน คือ เส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการเสนอซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งกับราคาขายของสินค้าและบริการชนิดนั้น
ๆ ณ ระดับราคาต่าง ๆ กัน โดยเส้นอุปทานจะมีลักษณะเป็นเส้นที่ทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา
ปัจจัยกำหนดอุปทาน
ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการกับราคาของสินค้าและบริการจะมีความสัมพันธ์เป็นไปตามกฎของอุปทาน
ถ้ากำหนดให้ปัจจัยอื่นคงที่ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการขายสินค้าและบริการก็ขึ้นอยู่กับราคาสินค้าและบริการชนิดนั้น
ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วปริมาณความต้องการขายสินค้าและบริการมิได้ขึ้นอยู่กับราคาสินค้าและบริการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่
1) ต้นทุน เมื่อราคาของปัจจัยการผลิตสูงขึ้น
ในขณะที่ราคาสินค้าและบริการมิได้สูงขึ้นตามราคาปัจจัยผลิต จะทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ผู้ผลิตลดปริมาณการผลิตลง
อุปทานของสินค้าและบริการก็จะลดลงลดลง
2) เทคโนโลยี การผลิตสินค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพและมีปริมาณที่สูงขึ้น
ผู้ผลิตจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยช่วยในการผลิต จะทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นและถ้าผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัยหรือไม่มีประสิทธิภาพก็จะส่งผลให้ปริมาณการผลิตที่ได้ลดลง
3) ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าชนิดหนึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการเสนอขายสินค้าอีกชนิดหนึ่ง
ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้หรือเป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน
4) สภาพดินฟ้าอากาศ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลทำให้อุปทานของสินค้าเปลี่ยนแปลงไปได้
เช่น การเพาะปลูกของเกษตรกร ถ้าฝนตกตามฤดูกาล การเพาะปลูกของเกษตรกรก็จะได้ผลผลิตที่ดี
อุปทานของสินค้าเกษตรก็จะมีมาก แต่ถ้าฝนแห้งแล้งเกษตรกรก็จะปลูกพืชได้ผลผลิตไม่ดี อุปทานของข้าวก็จะลดลง
5) จำนวนผู้ขาย
การที่มีผู้ขายจำนวนมากขึ้นผลิตสินค้าและบริการออกมาจำหน่ายได้มากขึ้น
อุปทานของสินค้าจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าผู้ขายมีจำนวนลดลง ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ขายจะนำออกมาจำหน่ายก็จะมีน้อยลงทำให้อุปทานสินค้าและบริการลดลงด้วยเช่นกัน
6) การคาดคะเนราคาสินค้าและบริการในอนาคต
การที่ผู้ขายคาดคะเนว่าในอนาคตราคาสินค้าจะสูงขึ้น
ผู้ขายก็จะกักตุนสินค้าไว้เพื่อขายในอนาคต ทำให้อุปทานของสินค้าในปัจจุบันลดลง และถ้าผู้ขายคาดคะเนว่าในอนาคตราคาสินค้าจะลดลง
ผู้ขายก็จะนำสินค้าที่เก็บไว้ในต๊อกมาขายมาขึ้น ทำให้อุปทานของสินค้าและบริการในขณะนั้นเพิ่มมากขึ้นมากขึ้น
2.5
การเปลี่ยนแปลงของอุปทาน
ปริมาณการเสนอขายกับราคาสินค้าจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันเป็นไปตามกฎของอุปทาน
ถ้าเรากำหนดให้ปัจจัยที่กำหนดอุปทานอื่น ๆ คงที่ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณการเสนอขายก็จะขึ้นอยู่กับราคาสินค้า
นอกจากราคาจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงองปริมาณการเสอนขายสินค้าและบริการแล้วยังมีปัจจัยอื่น
ๆ ดังกล่าวมาแล้วก็ยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการเสนอขายสินค้าและบริการอีกด้วย
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอุปทานสามารถพิจารณาได้ 2 ลักษณะดังนี้
1) การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทาน เป็นการเปลี่ยนแปลงของอุทานที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงราคาขาย
ผลการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปตามกฎของอุปทาน
2)
การเปลี่ยนแปลงอุปทาน เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงของอุปทานอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยอื่น
ๆ ที่ไม่ใช่ราคาของสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป (ราคาขายของสินค้าหรือบริการอยู่คงที่)
เช่น ต้นทน เทคโนโลยี ฯลฯ
3. การกำหนดราคาดุลยภาพ
(Equilibrium Price)
ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
กลไกของราคาจะทำหน้าที่โดยอัตโนมัติในการปรับตัวเพื่อหาดุลยภาพ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
ที่ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายจะมีความพึงพอใจที่จะทำการซื้อขายสินค้าและบริการต่อกัน ณ
ระดับราคาและปริมาณดังกล่าว ซึ่งการปรับตัวของกลไกราคาเพื่อกำหนดราคาและปริมาณความต้องการซื้อขายของบุคคลในระบบเศรษฐกิจ
ทำให้เกิดจุดที่เราเรียก จุดดุลยภาพ (Equilibrium Point) ที่กำหนดราคาและปริมาณดุลยภาพ
ราคาดุลยภาพ (Equilibrium Price) หมายถึง ระดับราคาสินค้าที่ทำให้ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการเท่ากับปริมาณความการเสนอขายสินค้าและบริการ
หรืออุปสงค์เท่ากับอุปทาน โดยปริมาณการซื้อขายที่เท่ากัน ณ ระดับราคาดังกล่าว เรียกว่า
ปริมาณดุลย
4. การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพ
การเปลี่ยนแปลงของภาวะดุลยภาพ
สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าเส้นอุปสงค์และอุปทานเส้นใดเส้นหนึ่งหรือทั้ง 2 เส้นเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปสงค์และอุปทานก็เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยอื่นที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์และอุปทาน
กรณีที่
1) กำหนดให้เส้นอุปสงค์เปลี่ยนแปลงและเส้นอุปทานอยู่คงที่ จุดดุลยภาพใหม่จะอยู่ที่เส้น
อุปสงค์ใหม่ตัดกับเส้นอุปทานเดิม
อุปสงค์ใหม่ตัดกับเส้นอุปทานเดิม
กรณี 2) กำหนดให้อุปสงค์คงที่
และอุปทานเปลี่ยนแปลงไป จุดดุลยภาพใหม่จะอยู่ที่เส้นอุปทานใหม่ตัดกับเส้นอุปสงค์เดิม
กรณีที่ 3) กำหนดให้อุปสงค์และอุปทาน
เปลี่ยนแปลงไปทั้ง 2 เส้นในทิศทางเดี่ยวกันในสัดส่วนที่เท่ากัน
จุดดุลยภาพใหม่จะอยู่ที่จุดตัดของเส้นอุปสงค์ใหม่ และอุปทานใหม่
กรณีที่ 4) กำหนดให้อุปสงค์และอุปทาน
เปลี่ยนแปลงไปทั้ง 2 เส้นในทิศทางเดี่ยวกันในสัดส่วนที่เท่ากัน
จุดดุลยภาพใหม่จะอยู่ที่จุดตัดของเส้นอุปสงค์ใหม่ และอุปทานใหม่
1.
ความหมายของการบริโภคและผู้บริโภค
ความหมายของการบริโภค
(Consumption) “การบริโภค” (Consumption) ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง การกิน การใช้ หรือการเอาประโยชน์จากสินค้าและบริการ
เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์โดยตรง เช่น การรับประทานอาหาร การดื่มน้ำ เป็นต้น ส่วนความหมายโดยทั่วไป
การบริโภคจะหมายถึง การกิน เท่านั้น ดังนั้น ความหมาย “การบริโภค”
ในทางเศรษฐศาสตร์ จะมีความหมายที่กว้างกว่าในความหมายโดยทั่วไป สำหรับ
“ผู้บริโภค (Consumer)” ในทางเศรษฐศาสตร์
หมายถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคล หรือองค์กร ที่ต้องการสินค้าหรือบริการ มาบำบัดความต้องการโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อได้ได้รับความพอใจสูงสุด
(Maximum Satisfaction)
การบริโภค เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ
และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการผลิต เพราะผู้ผลิตจะผลิตสินค้าและบริการมาสนองความต้องการของผู้บริโภค
เนื่องจากมนุษย์ จะดำรงชีวิตอยู่ได้ต้องอาศัยการกินการใช้ หรือการเอาประโยชน์จากสินค้าและบริการอยู่เสมอ
ในปัจจุบันจึงมีสินค้าและบริการใหม่ ๆ ออกมาจำหน่ายในท้องตลาดมากขึ้นและมีลักษณะของการแข่งขันที่สูงขึ้น
ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์มาก และมีโอกาสเลือกบริโภคได้มากขึ้นอีกด้วย
2.
ลักษณะของการบริโภค
การบริโภคตามลักษณะของสินค้าในความหมายทางเศรษฐศาสตร์
มี 2 ลักษณะ ดังนี้
1) การบริโภคสินค้าที่สิ้นเปลืองหมดไป เรียกว่า Destruction หมายถึง การบริโภคสินค้าที่มีลักษณะสิ้นเปลือง เสื่อมสลายหรือหมดสภาพจากเดิมไม่สามารถใช้บริโภคซ้ำได้ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่คงทน
(Non-Durable Goods) เช่น การบริโภคอาหาร
เครื่องดื่ม ยารักษาโรค การใช้น้ำมันเชื่อเพลิง เป็นต้น
2) ลักษณะการบริโภคสินค้าที่คงทนถาวร (Durable Goods) เรียกว่า
Diminution หมายถึง การบริโภคสินค้าที่มีลักษณะถาวร ไม่สิ้นเปลืองสูญสลายในทันที
สามารถนำมาใช้ได้เรื่อยๆ เช่นการบริโภคเสื้อผ้า รองเท้า โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น
3. ปัจจัยที่กำหนดการบริโภค
การบริโภคจะเกิดขึ้นกับทุกคนในโลกนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในภูมิภาคใดของโลก แต่คนทุกคนจะมีการบริโภคที่แตกต่างกันไป
ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนด การบริโภคของคนเรามีหลายปัจจัย ได้แก่
1) รายได้ของผู้บริโภค
2) ระบบการซื้อขาย
3) การโฆษณา
4) การศึกษา
5) รสนิยมของผู้บริโภค
6) วัยและเพศของผู้บริโภค
7) วัฒนธรรมประเพณี และศาสนา
เมื่อการบริโภคถูกจำกัดด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว ผู้บริโภคทุกคนจึงต้องเลือกบริโภคสินค้าหรือบริการอย่างมีเหตุผล
และจัดลำดับความต้องการตามความจำเป็นก่อนและหลังรวมทั้งรู้จักเลือกซื้อสินค้าหรือบริการที่สามารถทดแทนก้นได้
เพื่อให้เกิดความพอใจสูงสุด
4. พฤติกรรมของผู้บริโภค
พฤติกรรมของผู้บริโภคซึ่งมีอยู่ 2 ทฤษฎีที่สำคัญ คือ
ทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Theory of utility) และทฤษฎีเส้นความพอใจเท่ากัน
(Theory of Indifference Curse) และเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาและการเข้าใจสำหรับในระดับชั้นนี้
จะได้ศึกษาอธิบายเฉพาะพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยการศึกษาเรื่องอรรถประโยชน์
(Utility) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้บริโภคเป็นผู้มีเหตุผลที่จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการต่าง
ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตนและได้รับความพอใจสูงสุด ภายใต้ระดับของรายได้ที่จำกัดอยู่จำนวนหนึ่ง
อรรถประโยชน์ (Utility) หมายถึง คุณสมบัติของสินค้าหรือบริการที่สามารถสนองความต้องการของผู้บริโภค
ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง และอรรถประโยชน์จะมีมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความต้องการสินค้าและบริการของแต่ละบุคคล
ซึ่งจะสามารถสร้างความพอใจให้แก่ผู้บริโภคหรือทำให้เกิดอรรถประโยชน์ ได้ในลักษณะต่างๆ
คือ
1)
อรรถประโยชน์โดยการเปลี่ยนรูปร่าง (Form Utility)
2) อรรถประโยชน์โดยการเปลี่ยนสถานที่ (Place Utility)
3) อรรถประโยชน์การเปลี่ยนเวลา (Time Utility)
4) อรรถประโยชน์โดยการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ (Possession Utility)
5) อรรถประโยชน์โดยการให้บริการ (Service Utility)
5. ผลดีและผลเสียทางเศรษฐกิจของการบริโภค
ผลดีของการบริโภค
1) ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการผลิต ทำให้มีการพัฒนาปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
เช่น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน การผลิต เตารีดระบบไอน้ำ เป็นต้น
2) มีการพัฒนาเทคนิคการโฆษณา โดยใช้สื่อต่าง ๆ มีการใช้เทคนิคและวิธีการเผยแพร่ข้อมูลของสินค้าหรือบริการให้ผู้บริโภคทราบเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจซื้อ
ได้รวดเร็วและถูกต้องมากยิ่งขึ้น
3) ทำให้การลงทุนขยายตัว ถ้าผู้ผลิตสินค้าหรือบริการแล้วผู้บริโภคนิยมซื้อไปบริโภคมากขึ้น
ผู้ผลิตจะทำการผลิตต่อไป และจะขยายการผลิตอีกด้วยถ้าผู้ซื้อมีกำลังอำนาจการซื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ
4) ระดับการจ้างงานสูงขึ้น เมื่อมีการบริโภคเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตขยายการลงทุน ย่อมต้องการจ้างงานมากขึ้น
คนงานมีรายได้เพียงพอต่อการบริโภค ดังนั้นระดับการจ้างงานสูงขึ้นจะส่งผลให้มาตรฐานการครองชีพของประชาชนดีขึ้น
5) เกิดธุรกิจต่อเนื่อง การผลิตสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งต้องอาศัยการผลิตอื่น
ๆ เป็นส่วนประกอบการดำเนินกิจกรรมการผลิต เช่น การโฆษณา ประกันภัย ธุรกิจค้าปลีก-ส่ง เป็นต้น
6) การเพิ่มขึ้นของการบริโภคไม่สูงเกินไป จะทำให้เกิดการซื้อง่ายขายคล่อง ธุรกิจดำเนินไปด้วยดี
ประชาชนมีรายได้เพียงพอ ในการจับจ่ายซื้อสินค้าหรือบริการ
ผลเสียของการบริโภค
1) ทำให้เกิดการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ถ้าผู้บริโภคใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการโดยการพิจารณารอบคอบ
ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของการโฆษณา ผู้บริโภคจะสูญเสียอำนาจการซื้อไป
2) เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค ถ้าผู้ผลิตไม่มีฝีมือ ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต ผลิตสินค้าและบริการไม่มีคุณภาพ เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค
เช่น ขนมใส่สี ก๋วยเตี๋ยวใส่ผงชูรส เป็นต้น ทำให้ผู้บริโภคต้องเพิ่มความระมัดระวังในการบริโภค
3) ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรง ในกรณีที่ผู้บริโภคทุกคน มีการบริโภค และการใช้จ่ายมากเกินระดับการเพิ่มของรายได้
ทำให้ราคาสินค้าหรือบริการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ประเทศมีภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรง
เป็นอันตรายต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
4) ปัญหาหนี้สินของผู้บริโภค ที่เกิดจากการบริโภคที่เกินตัวกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อการบริโภค
มีหนี้สินเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น จนไม่สามารถชำระหนี้ได้ เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง ครอบครัว
และสังคม
5) ปัญหาการใช้ทรัพยากร ผู้ผลิตที่เร่งการผลิตมากจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้นจนบางครั้งขาดความรับผิดชอบต่อสังคมไม่มีคุณธรรม เช่น การสร้างที่อยู่อาศัย การจับปลามากขึ้น เป็นต้น
6) ปัญหาการค้าละดุลการชำระเงิน ถ้าผู้บริโภคมีรสนิยมซื้อสินค้า หรือบริการจากต่างประเทศมาก ทำให้ประเทศต้องประสบภาวการณ์ขาดดุลการค้าและขาดดุลการชำระเงิน
กกกก
ตอบลบ